ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ

Authors

  • วีนัส วัฒนธำรงค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • สมบัติ อ่อนศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • ชาติชาย อมิตรพ่าย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • อัจฉริยะ เอนก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • ภูเบศร์ นภัทรพิทยาธร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
  • กัลป์พฤกษ์ พลศร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน

Keywords:

ยาฝังคุมกำเนิด, หญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ, Contraception Type Implants, repeat Pregnancies adolescents

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษากับหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำที่มาฝากครรภ์ และคลอดบุตร ที่โรงพยาบาลปทุมธานี จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 5 ส่วน คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทางชีวสังคม, แบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด, แบบสอบถามเกี่ยวกับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด, แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด, แบบสอบถามความตั้งใจต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแคว์ และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยลักษณะทางชีวสังคม ประกอบด้วย อายุ, สถานภาพ,ระดับการศึกษา, ครั้งที่ของการตั้งครรภ์, อายุ เมื่อมีการตั้งครรภ์ครั้งแรก, บิดาของบุตรในครรภ์นี้, ประวัติการคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์และประวัติการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นของบุคคลใกล้ชิด มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยลักษณะทางชีวสังคมด้าน อาชีพ,รายได้และอายุสามี ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ 2) ปัจจัยด้านเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Factors Related Intention Contraception Type Implants in repeat Pregnancies adolescents

This research is descriptive study. The study were 112 persons with Repeated Adolescent Girls which received medical care at Pathum Thani Hospital, PathumThani Province. The instruments used consisted of 5 questionnaires, a questionnaire on biophysical characteristics, a questionnaire on attitudes toward contraceptive use, a questionnaire on the relationship of reference groups on the use of contraceptive injections, self-efficacy questionnaire on the use of intrauterine insemination, questionnaire on the intention to use contraceptive. Data analysed by using frequency, mean, percentage, standard deviation, Chi-square and product moment correlation coefficient.  The study results showed that 1) biophysical factors were age, status, education level, times of pregnancy, age at first gestation, fathers in this pregnancy, history of contraception before pregnancy and close personal history of adolescent pregnancy have relationship with intention to use contraceptive in adolescent pregnant women is statistically significant at an alphalevel of .05. But faces were career, income and husband age. There is no correlation with intention to use contraceptive in adolescent pregnant. 2) Factors of attitudes, were the expectation of reference group and Self-efficacy in controlling their behaviors have relationship with intention to use contraceptive in adolescent pregnant women is statistically significant at an alphalevel of .05.

Downloads

How to Cite

1.
วัฒนธำรงค์ ว, ศิริโสภณ ณ, กายนาคา ป, อ่อนศิริ ส, อมิตรพ่าย ช, เอนก อ, นภัทรพิทยาธร ภ, พลศร ก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Nov. 15];18(suppl.1):102-11. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90108