ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแบบเปิดช่องท้อง
Keywords:
การจัดการกับอาการ, การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า, การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้, Symptom management, Reflexology, Bowel function RecoveryAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแบบเปิดช่องท้องตามแนวคิดการจัดการอาการของ Dodd (2001) และแนวคิดการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแบบเปิดช่องท้อง เข้ารับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ อายุ ระดับความเสี่ยงการเกิดภาวะลำไส้หยุดทำงานชั่วคราวหลังผ่าตัดและระดับโพแทสเซียมในเลือดหลังผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน ฝ่าเท้า ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินประสบการณ์การมีอาการลำไส้หยุดทำงานชั่วคราวหลังผ่าตัด 2) กลวิธีการจัดการอาการลำไส้หยุดทำงานชั่วคราวหลังผ่าตัด และ 3) การประเมินผลการจัดการอาการลำไส้หยุดทำงานชั่วคราวหลังผ่าตัดและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ของ ศิริพรรณ ภมรพล (2556) ซึ่งทดสอบความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงแบบเปิดช่องท้องกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Effect Of Symptom Management Program Combined With Reflexology On Bowel Function Recovery In Patients After Open Colorectal Surgery
The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of symptom management program combined with reflexology on bowel function recovery in patients after open colorectal surgery. The symptom management theory of Dodd (2001) and reflexology concept were used as a conceptual framework. Adult patients aged 18-59 years undergoing open colorectal surgery were recruited from the surgical ward, Pramongkutklao Hospital. The experimental and control groups were matched by age, risk score for postoperative ileus, and postoperative serum potassium. The control group received the conventional usual care. The experimental group received the symptom management program combined with reflexology. The research instrument was symptom management program combined with reflexology comprised of three sessions: 1) Assessment of symptom experience of postoperative ileus, 2) Symptom management strategies of postoperative ileus, and 3) Symptom outcome of postoperative ileus. The instrument for collecting data was the assessment scale bowel function recovery. It was tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficient of 0.75. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.The result revealed that bowel function recovery after open colorectal surgery in patients receiving symptom management program combined with reflexology was significant better than control group at level of .05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.