การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ : ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ผสมผสานการใช้ยาต่อระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

Authors

  • กัลยาณี อภิเชษฐ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิชโรจน์ นพวรรณ เปียซื่อ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า, ความดันโลหิตสูง, การใช้ยา, Behavior Modification, Foot Reflexology, Hypertension, Medication use

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มโรคอ้วนลงพุง ด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ผสมผสานการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า” ของ ผศ.ดร. ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์และคณะ ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความดันโลหิต ภายหลังการเข้ารับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่าง อย่างเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมารับบริการตรวจที่ศูนย์สาธารณสุข 3 บางซื่อ กรุงเทพมหานคร จำนวน 32 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 16 รายทำการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 5 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 สัปดาห์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองทุกวัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วิเคราะห์โดยใช้ สถิติบรรยาย, Fisher’s exact test, Paired t-test และ Independent t-testผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกภายหลังทดลองสัปดาห์ที่ 12 น้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05), ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกของกลุ่มทดลองสัปดาห์ที่ 12 น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05), ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกของกลุ่มทดลองสัปดาห์ที่ 16 น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05), ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกของกลุ่มทดลอง สัปดาห์ที่ 12น้อยกว่าสัปดาห์ที่ 16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกสัปดาห์ที่ 16 มีแนวโน้มสูงขึ้นและค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกภายหลังทดลองสัปดาห์ที่ 12 ไม่แตกต่างสัปดาห์ที่ 16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p>.05) ซึ่งระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกยังอยู่ในระดับปกติ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงได้แต่เมื่อศึกษาผลของการดูแลสุขภาพตนเองโดยไม่มีการติดตาม พบว่าสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้แต่ระดับความดันโลหิตซิสโตลิกมีแนวโน้มสูงขึ้น บุคลากรจึงควรมีการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งเชิงบำบัดที่มีประโยชน์ มีความปลอดภัย สามารถนำมาผสมผสานและเป็นการส่งเสริมการดูแลแบบองค์รวม ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยมีข้อคิดคำนึงว่า ผู้ป่วยต้องได้รับการสอนและฝึกฝนในเทคนิคการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าให้ถูกต้องตามหลักการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลข้างเคียงก่อนนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Secondary Data Analysis : Effects of Behavioral Modification Program and Foot Reflexology Integrated With Medication Use on Blood Pressure Level in Persons with Hypertension

This study is a secondary data analysis from the project. “Changing Risk Behaviour in Metabolic Syndrome Group by Diet Control, Exercise and Foot Reflexology” by Prof. Dr. Ladaval Ounprasertpong Nicharojana and the fluorescence.This study was comprised quasi-experimental research aimed at study the effects of behavioral modification program, foot reflexology integrated with medication on blood pressure in persons with hypertension. The sample group was composed of 32 persons with hypertension seeking treatment services at Bankok by Public Health Center 3 divided into a control group and an experimental group selected in line with set criteria with 16 subjects in each group. The experimental group participated in a behavior modification program for five sessions at two-week intervals and daily foot reflexology over a period of twelve weeks integrated with regular medication. The control group received routine nursing care only. The data was analyzed with Descriptive statistics, Fisher’s exact test, Paired t-test and Independent t-test. The research findings discovered the mean post-test blood pressure at week 12 to be less than the pre-test levels with statistical significance (p<.05), the mean blood pressure and the activation of the experimental group than the control group at week 12 was statistical significance (p<.05), the mean blood pressure and the activation of the experimental group than the control group at week 16 was statistical
significance (p<.05). This study shows that the health behavior and food reflexology. Combining medication can help lower high blood pressure. The need for monitoring patient to self-care. Secure and promote holistic patient care. Allows patients to self-care to control blood pressure. Prevent complications with regard commentaries. Patients must be taught and trained in massage techniques, reflexology correct principles to maximize efficiency and minimize side effects be applied to achieve better quality of life.

Downloads

How to Cite

1.
อภิเชษฐ์ ก, อุ่นประเสริฐพงศ์ ล, เปียซื่อ นน. การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ : ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ผสมผสานการใช้ยาต่อระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Nov. 15];18(suppl.1):58-65. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90098