การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเชิงจิตวิทยาแบบประเมินความผูกพันในงานของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ลักขณา พ่วงรักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเชิงจิตวิทยา, ความผูกพันในงานของพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน, Development and validation of Psychometric, Nurse’s work engagement, Private hospital

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร โดยพัฒนาจากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร มี 2 กลุ่ม โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือ จำนวน 330 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และจำนวน 120 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพเชิงจิตวิทยาของแบบประเมิน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา CVI = .89 ตรวจสอบโครงสร้างของชุดตัวแปรโดยวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก หมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ และตรวจสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาโดยการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการหาความตรงเหมือน (Convergent validity) และความตรงเชิงจำแนก (Divergent validity) วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมิติรายด้านโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือทั้งฉบับโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านความใส่ใจพัฒนางานด้านความเหนื่อยหน่ายในงาน ด้านความขยันขันแข็งในการทำงาน และด้านการอุทิศตนในการทำงาน มีรายการความผูกพันในงานรวม 26 รายการย่อย มีค่าน้ำหนักตัวประกอบระหว่าง .58 -.82อธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 61.04 การตรวจสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา พบว่า มิติด้านความใส่ใจพัฒนางาน ความขยันขันแข็งในการทำงาน การอุทิศตนในการทำงานและความเหนื่อยหน่ายในงาน มีความตรงเหมือนและความตรงเชิงจำแนก มีค่าความเที่ยงของแบบประเมินทั้งฉบับเท่ากับ .79 สรุปได้ว่า แบบประเมินความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร มีความตรงตามโครงสร้างและมีความเที่ยง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประเมินความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน

Development And Psychometric Validation Of Nurse’s Work Engagement Scale, Private Hospital In Bangkok

The purpose of this study were to development and psychometric validation of the scale of nurse’s work engagement scale. The multi-stage random sampling was used for 2 groups of participants, professional nurses used to perform a field test (n = 330), professional nurses used to psychometric validation (n = 120). Three questionnaires were developed for this study. The first questionnaire was developed through the semi-structure interview by experts on nurse’s work engagement. A likert scale of 1-5 was added to list in the second and third questionnaires. The content validity of overall scale was approved by experts with CVI = .89. Construct validation using principal components extraction and orthogonal rotation with varimax method. Subsequently, the psychometric validation were confirmed in the multitrait-multimethod technique with convergent validity and divergent validity by using Pearson’s Product Moment Correlation. Cronbach’s alpha coefficient was finally tested. Research findings were as follows: 1. The nurse’s work engagement scale were composed of 4 dimensions: 1) Absorption 2) Burnout 3) Vigor 4) Dedication. It was described in 26 items, loading factor between .58 - .82, accounted for 61.04% of total variance. 2. Psychometric validity testing found: data analysis with Pearson’s Product Moment Correlation between 4 dimensions (1. Absorption 2. Burnout 3. Vigor 4. Dedication) have shown the convergent validity and divergent validity. Internal consistency testing showed acceptable level (Alpha .79). Conclusion: The research findings provide strong evidence of validity and reliability of the nurse’s work engagement scale, and it is an appropriate scale recommended to use in professional nurses in private hospital.

Downloads

How to Cite

1.
พ่วงรักษ์ ล, ศรีสถิตย์นรากูร บ. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเชิงจิตวิทยาแบบประเมินความผูกพันในงานของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Nov. 15];18(suppl.1):48-57. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90096