การปฏิบัติการพยาบาลสำหรับเด็กโรคหืดในประเทศไทย: การวิเคราะห์อภิมาน

Authors

  • สุวิมล โรจนาวี คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การวิเคราะห์อภิมาน, การพยาบาล, เด็กโรคหืด, Meta-analysis, Nursing, Children with asthma

Abstract

การวิเคราะห์อภิมานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับเด็กโรคหืดในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2549-2559 และเพื่อคำนวณค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สูตรของ กลาส แม็กเกว และ สมิท ผลการศึกษาพบงานวิจัยที่เข้าเกณฑ์จำนวน 14 เรื่อง ทั้งหมดเป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง ค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับเด็กโรคหืดส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 85.7 ยกเว้นโปรแกรมให้ความรู้และโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่มีค่าอิทธิพลขนาดกลาง คิดเป็นร้อยละ 14.3 ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับเด็กโรคหืดและเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการศึกษาต่อไป

Nursing Interventions for Children with Asthma in Thailand: Meta-Analysis

The purpose of this meta-analysis was to study the effect of nursing interventions for children with asthma in Thailand during 2006-2016 and to calculate the effect size of each intervention using the method of Glass, McGraw, & Smith. Results revealed that there were 14 qualifiedquasi-experimental researches. Majority of nursing interventions for children with asthma had large effect size. However,health education and family participation programs had moderate effect size. The results can be used for guidelines improvement for children with asthma and used as evidencefor further studies.

Downloads

How to Cite

1.
โรจนาวี ส. การปฏิบัติการพยาบาลสำหรับเด็กโรคหืดในประเทศไทย: การวิเคราะห์อภิมาน. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Nov. 15];18(suppl.1):41-7. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90088