การเป็นพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยง
Keywords:
พยาบาลจบใหม่, พยาบาลพี่เลี้ยง, ประสบการณ์ชีวิต, Newly graduated nurse, Nurse mentor, Lived experienceAbstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลจบใหม่ ที่ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความ ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลมาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Diekelmann ผลการวิจัยพบประเด็นจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1. เป็นน้องใหม่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ประกอบด้วย 1.1) ยังไม่พร้อมกับการทำงานเป็นพยาบาลเต็มตัว และ 1.2) ผิดพลาดบ่อย ความรู้ยังน้อย ตัดสินใจได้ยังไม่ดี 2. หน่วยงานมีพี่เลี้ยงให้ ไม่รู้จะได้พี่เป็นอย่างไร ประกอบด้วย 2.1) เครียด กังวลใจ กลัวจะเข้ากับพี่ไม่ได้ และ 2.2) ไม่รู้พี่จะดุมากไหม คิดไปต่าง ๆ นานา 3. ทำงานร่วมกัน ประสบการณ์นั้นยังจดจำได้ ประกอบด้วย 3.2) ทำงานร่วมกับพี่ รู้สึกดี อบอุ่นใจ และ 3.2) ทำงานร่วมกับพี่ มีแต่เรื่องอึดอัดใจ 4. เวลาผ่านไป ร่วมงานกันได้ เข้าใจกันดี จากผลการศึกษานี้ ทำให้เข้าใจประสบการณ์การเป็นพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยงซึ่งผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาในการสนับสนุนและช่วยเหลือพยาบาลจบใหม่ให้สามารถปรับตัวกับบทบาทพยาบาลวิชาชีพและสิ่งแวดล้อมใหม่ในสถานที่ทำงานต่อไป
Being A Newly Graduated Nurse Working Under Supervision Of A Mentor
The purpose of this qualitative research was to describe experiences of being a newly graduated nurse working under supervision of the nurse mentorship. This study was conducted based on the philosophical views of Hermeneutic phenomenology of Martin Heidegger. Ten newly graduated nurses were willing to participate in this study. Data were collected by using in-depth interviews with audio-recorded, field observations and document review. Data were transcribed verbatim and analyzed by using content analysis of Diekelmann. The findings of being a newly graduated nurse under supervision of the mentor consisted of 4 categories: 1. Being a novice cannot work completely, consisted of 2 sub-themes including 1.1) Not being ready to work as a professional nurses and 1.2) making more mistake, having limited knowledge and failure in decision making. 2. Wondering how a mentor looks like, consisted of 2 sub-themes including 2.1) being worried, anxiety and fear and 2.2) thinking hard about a mentor. 3. Experiences of working with a mentor, consisted of 2 sub-themes including 3.1) feeling happy and 3.2) feeling uncomfortable and frustrated. 4. After ending the period of mentorship, we can be good colleagues. From the results of this study, it provided understanding on a newly graduated nurse’s experience upon the supervision of the nurse mentor. It was recommended that the administrators should develop an effective strategy to strengthen and facilitate the transition process of novice nurses, in adjusting to the new environment and be a professional nurse under the mentorship system.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.