ผลของการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพต่อความตั้งใจและพฤติกรรม การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของทหารกองประจำการ ในจังหวัดนครราชสีมา
Keywords:
ความเชื่อด้านสุขภาพ, ความตั้งใจ, พฤติกรรม, ป้องกัน, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, Health belief, intention, behavior, prevention, sexually transmitted diseasesAbstract
การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพต่อความตั้งใจและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของทหารกองประจำการในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นทหารกองประจำการในจังหวัดนครราชสีมาที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน กลุ่มควบคุม 34 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามรูปแบบของกรมแพทย์ทหารบกตามปกติ เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความตั้งใจและพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และแบบบันทึกอาการและอาการแสดงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พรรณนาข้อมูลทั่วไปด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบค่าทีแบบอิสระการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมและการทดสอบของฟิชเชอร์ผลการวิจัย พบว่า กล่มุ ทดลองมีการเปลี่ยนแปลงความตั้งใจป้องกันโรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พันธ์มากกว่ากลมุ่ ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และอัตราผู้มีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบว่าไม่แตกต่างกันข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรใช้ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความตั้งใจป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่ทหารกองประจำการในหน่วยฝึกทหารใหม่หน่วยอื่น ส่วนด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องมีการปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมในด้านการกระตุ้นเตือน หรือการให้ทหารกองประจำการได้มีกิจกรรมรูปแบบอื่นปฏิบัติระหว่างพักหลังการฝึกทหารใหม่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อไป
Development on Intention and Behavior of Sexually Transmitted Diseases among Thai Army Recruits in Nakornratchasima Province
This experimental research aimed to study the effect of health belief development on intention and prevention behavior of sexually transmitted diseases among Thai army recruits in Nakornratchasima province. Thirty four participants of experimental group and 34 participants of control group were derived by multistage random sampling. The experimental group received the health belief developmental program. The control group received the program on scheduled of The Royal Thai Army Medical Department. The instruments to collecting data included demographic data, intention and behavior of the prevention on sexually transmitted diseases questionnaires and the recording form of sexually transmitted signs and symptoms. Percentage, mean, standard deviation, independent t-test, analysis of covariance and Fisher’s exact test were used for data analysis. The results showed that the intention to prevent sexually transmitted diseases of the experimental group were statistically significant changed higher than the control group. However, the prevention behaviors and the proportion of sexually transmitted signs and symptoms were not statistically significant. The finding suggest that community nurse practitioners should apply the program to promote the intention to prevent sexually transmitted diseases in the other military unit. However, the health-behavior improvement needs to be adding the new activity. Moreover, nurse should be provided other private activities to perform during a break after training to foster preventive the sexually transmitted diseases.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.