ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ป่วยโรคจิตเภท ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา
Keywords:
ผู้ป่วยโรคจิตเภท, การขาดนัดการรักษา, schizophrenia patients, loss to follow-upAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปี ไม่มีภาวะพร่องทางด้านการสื่อสาร การรับรู้เป็นปกติ จำนวน 154 คนกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีประวัติขาดนัดการรักษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์บริบทการมารับการรักษา 3) แบบสัมภาษณ์ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา 4) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคมและ 5) แบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องโรคและการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภท สถิติที่ใช้ในการพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนและไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่าการขาดนัดการรักษาของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราปีงบประมาณ 2555 มีการขาดนัดการรักษา 1-4 ครั้ง ส่วนใหญ่ขาดนัดการรักษา 1 ครั้ง (ร้อยละ 69.5) จากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์ด้านลบกับการขาดนัดการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 สถานภาพสมรส รายได้ บุคคลที่อาศัยอยู่ด้วย ระยะเวลาที่ป่วย และเหตุผลของการขาดนัด 11 เหตุผล (จาก 14 เหตุผล) มีความสัมพันธ์ด้านบวกกับการขาดนัดการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนปฏิบัติการพยาบาลเชิงรุกสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพ และสนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเภทได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของผู้ป่วยจิตเภทก็จะมีความเป็นไปได้มากขึ้น
Factors Relating to Loss to Follow-up Amongschizophrenia Patients Enrolled in The Community Hospitals in Chachoengsao Province
The purpose of this descriptive study was to study factors relating to loss to follow-up among
schizophrenia patients enrolled in the community hospitals in Chachoengsao province. 154 schizophrenia patients with age of 20-60, a history of losing follow up more than a week, non-compliant to medication, normal perception, and had no communication deficit were selected through systematic sampling. The instruments used for this study include 1) personal information questionnaire, 2) recipient context questionnaire, 3) medication adherence questionnaire, 4) social support questionnaire, and 5) knowledge about schizophrenia and medication. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, Spearman’s Correlation, and Chi-Square. The results showed the schizophrenia patients enrolled in the community hospitals in Chachoengsao province for fiscal year 2012 had lost to follow-up for 1-4 times, 69.5% loss to follow up 1 time,There was statistically significant negative relationship between age andloss to FU.(P<.05) Marital status, monthly income, residing with whom, duration of being illed and 11 reasons of loss to FU had statistically significant positive relationship with loss to FU.(P<.05) Nurses at primary care hospitals could employ these findings as a base in developing provocative nursing plan to re-constitute, promote, and enhance medical compliance in schizophrenia patients. By doing so, patient independency becomes more possible.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.