สมรรถนะและบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาล ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

Authors

  • อภิรดี นันศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมประพรรณ สถาพรพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพ, การปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ, พยาบาล, โรงพยาบาลตติยภูมิเขตภาคเหนือ, health promotion competency, health promotion practice, nurses, the Northern region of Thailand

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 884 คน เครื่องมือวิจัยประกอบดว้ ย แบบสอบถามระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบกฎบัตรออตตาวา ความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .97 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าตนมีสมรรถนะในระดับชำนาญ ในด้านปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ และมีสมรรถนะในระดับพื้นฐาน ในด้านการวิจัยและการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ และด้านบริหารจัดการในการสร้างเสริมสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติบทบาทมากที่สุด ได้แก่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ รองลงมา ได้แก่ การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การปรับระบบบริการสุขภาพ และน้อยที่สุด ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิต่อไป

Competency and Roles of Health Promotion among Nurses in Tertiary Hospitals

The purposes of this study were to study competency and roles of health promotion among nursesin tertiary Hospitals in Northern region. The randomly selected subjects were 884 registered nurses. The instruments used for collecting data consist of health promotion competency questionnaires and health promotion role based on Ottawa chatter. The questionnaires were testing for reliability by Cronbach’s alpha coefficients were .97 and .96. The descriptive statisticused for analyzing data included percentage, mean, and standard deviation. The result of this study revealed that participant perceived that they haveexpert competency levelbon practicing health promotion activities, health promotion personal skills, and they have basic competency level on research and knowledge management, developing health promotion network, and health promotion management. Additionally, the participant perform their role in creating supportive environments, building healthy public policy, developing personal skills, reorienting health services, and strengthening community action, consequently. The results are recommended for improving competency and roles of health promotion among nursesin tertiary Hospitals.

Downloads

How to Cite

1.
นันศุภวัฒน์ อ, สถาพรพัฒน์ พ. สมรรถนะและบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาล ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Nov. 19];18(1):222-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85309