ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์ ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วไป

Authors

  • กุลวดี อภิชาติบุตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรอนงค์ วิชัยคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิภาดา คุณาวิกติกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วย, สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล, โรงพยาบาลทั่วไป, adverse patient outcomes, nurse practice environment, generalhospital

Abstract

สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วไปหน่วยการวิเคราะห์ คือ 155 หอผู้ป่วยและพยาบาล จำนวน 886 คน ซึ่งได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ของหอผู้ป่วย และ 2) แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1) สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้พยาบาลวิชาชีพจัดอยู่ในหมวดหมู่ที่พึงพอใจ 2) ความคลาดเคลื่อนทางยา เป็นผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3) สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความคลาดเคลื่อนทางยา ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารการพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วย

The Relationship Between Nursing Practice Environment and Adverse Patient Outcomes in General Hospitals

Nursing practice environment is important for patient outcomes. This study aimed to examine the relationship between nursing practice environment and adverse patient outcomes in general hospitals. The Unit of analysis were 155 units and 886 registered nurses using multistage sampling. The research instruments included 1) an adverse patient outcome recording form and 2) the Nursing Practice Environment Questionnaire which had the Cronbach’s alpha coefficients of .93. Data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation andspearman Rank Correlation Coefficients. Findings revealed that 1) nursing practice environment was at a favorable category, 2) Medication error was the adverse patient outcome that had the highest mean, 3) nursing practice environment was negatively related to medical error. The results of this study can be used as the basis information for nurse managers to manage appropriate nursing practice environment in order to prevent the occurrence of adverse patient outcomes.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
อภิชาติบุตร ก, วิชัยคำ อ, คุณาวิกติกุล ว, นันท์ศุภวัฒน์ เ, นันท์ศุภวัฒน์ อ. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์ ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วไป. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Dec. 19];18(1):206-15. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85304