ผลของการฝึกติดตามแนวทางโยนิโสมนสิการในแบบวิภัชชวาทด้วยการ ถามตอบต่อการเรียนรู้ทางจริยศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Authors

  • อุดมวรรณ วันศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • วรภรณ์ บุญจีม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • ณัฐรินทร์ สกุลนิธิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

Keywords:

โยนิโสมนสิการ, วิภัชชวาทการเรียนรู้จริยศาสตร์, Yonisomanasikara, Vipatchavart, Learning, Ethics

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกคิดตามแนวทางโยนิโสมนสิการ ในแบบวิภัชชวาทด้วยการถามตอบต่อการเรียนรู้วิชาจริยศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ก. รุ่นที่ 43 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ก. รุ่นที่ 43 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 74 คนระหว่างวันที่ 27 มีนาคม ถึงเมษายน 2557 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและใบงานตรวจสอบคุณภาพโดยอาจารย์พยาบาล 1 คน และนักศึกษาพยาบาล 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามและเอกสารผลการเรียนรู้ตามใบงานวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารผลการเรียนรู้ตามใบงานและคำถามปลายเปิดด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีผลรวมคะแนนเฉลี่ยการเรียนรู้จริยศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.47SD = 82) และผลจากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้จริยศาสตร์ 2 วิธี คือ 1) วิธีการถามตอบ (แบบอย่างเดียวแง่เดียว แบบแยกแยะ แบบย้อนถาม) 2) รูปแบบการคิดหลากหลาย (การคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างรอบคอบทุกแง่ทุกมุม คิดวิเคราะห์และคิดอย่างลึกซึ้ง) นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่านักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีจริยศาสตร์ หลักจริยธรรมวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ จากผลการวิจัยแสดงว่าการนำแนวทางการถามตอบตามแบบวิภัชชวาทมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนวิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพ ทำให้นักศึกษาเรียนรู้การฝึกคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงได้

The Effects of Vipatchavart in Yonisomanasikara on Academic Achievement of Ethics Course among Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

The purpose of classroom action research was to investigate the effect of Vipatchavart in Yonisomanasikarathrough questioning and answering methods on the academic achievement of ethics course. Sample of the study were 74 sophomore nursing students at Boromarajonani College of Nursing
Sanpasithiprasong. Data were collected from March 27, 2014 to April, 2014. Questionnaires and assignment sheets approved by a nursing instructor and three nursing students were used to collect data. Descriptive statistics was used to analyze quantitative data. Content analysis was used to analyze qualitative data. Results showed that: The students had moderate learning and critical thinking levels.The students The results of content analysis showed that nursing students had 2 learning styles in ethic course, which were inquiring and thinking. Patterns of Inquiry were included simple inquiry, differentiated inquiry, and critical inquiry. Thinking patterns composed of systemic thinking, reasoned thinking, considerate thinking, analytical thinking, and deep thinking. Moreover, the students revealed that they learned about ethical theory, ethical rules, and professional ethics in this ethics course. The results of this study showed that Vipatchavart ofYonisomanasikaraare engaged in ethics course through questioning and answering methods that improve the students’ learning, critical analysis, and knowledge application.

Downloads

How to Cite

1.
วันศรี อ, บุญจีม ว, สกุลนิธิวัฒน์ ณ. ผลของการฝึกติดตามแนวทางโยนิโสมนสิการในแบบวิภัชชวาทด้วยการ ถามตอบต่อการเรียนรู้ทางจริยศาสตร์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Nov. 19];18(1):186-93. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85301