ผลการใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้นผลสัมฤทธิ์ (STAD) ในรายวิชาสถิติประยุกต์ต่อพัฒนาการผู้เรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม ของนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Keywords:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการทำงานเป็นทีม, การสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้นผลสัมฤทธิ์, Learning achievement, Teamwork skill, Student Team Achievement DivisionAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีมในรายวิชาสถิติประยุกต์โดยใช้ใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้นผลสัมฤทธิ์ (STAD) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 34 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสถิติประยุกต์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ประกอบด้วยตอนเรียนที่ 1 และ 2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับคู่ด้วย อายุและเกรดเฉลี่ย ได้กลุ่มเรียนตอนที่ 1 จำนวน 17 คน เป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการสอนแบบ STAD และกลุ่มเรียนตอนที่ 2 จำนวน 17 คน เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการสอนแบบปกติทั้งสองตอนเรียนได้เรียนเนื้อหาเหมือนกัน คือ จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 100 นาที หลังเรียนภาคบรรยายผู้สอนหมายหมายแบบฝึกหัดให้ทำ กลุ่มควบคุมต่างคนต่างทำการบ้านมาส่งในสัปดาห์ต่อไป ส่วนกลุ่มทดลองได้รับมอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่มและส่งในสัปดาห์ต่อไป โดยผู้สอนจับฉลากตัวแทนกลุ่มมานำเสนอการทำแบบฝึกหัดด้วยวาจา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ แผนการสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้น ผลสมฤทธิ์ และแผนการเรียนแบบปกติ 2) เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกการสอบด้วยวาจา และ 3) เครื่องมือวัดผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้แบบอัตนัยและแบบสอบถามทักษะการทำงานเป็นทีมการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติที (Paired t-test) ผลการวิจัย พบว่า1. กลุ่มทดลองหลังได้รับการสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้นผลสัมฤทธิ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (คะแนนพัฒนาการของผู้เรียน) ดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ2. กลุ่มทดลองหลังได้รับการสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้นผลสัมฤทธิ์มีคะแนนทักษะการทำงานเป็นทีมดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้นผลสัมฤทธิ์สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (คะแนนพัฒนาการของผู้เรียน) และทักษะการทำงานเป็นทีมได้ดีกว่าการเรียนแบบปกติ ดังนั้นจึงควรนำรูปแบบการสอนแบบแบ่งกลุ่มที่เน้นผลสัมฤทธิ์ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ
Effects of Using Student Team Achievement Division (STAD) in Applied Statistics course on Learning Achievement and Team Work Skill of Master’s degree students in Nursing Science
The purposes of this quasi-experimental research to study the learning achievement and team work skill of using student team achievement division in the Applied Statistics course. The subjects were 34 graduate nursing students in the first semester of the 2015 academic year registered to study the applied statistics course. The matched pair with age and GPA were applied to assign students from class section 1 and 2 into experimental or control groups. Seventeen students from class section 1 were assigned to be an experimental group using STAD method and other seventeen students from class section 2 were assigned to be a control group using traditional teaching method. Both sections were taught by the same faculty member, same number of lecture hours with same contents. After class, students of control group were assigned doing homework individually while students of experiment group were assigned doing homework by group. Study instruments included knowledge test on an applied statistics contents (growth scores), teaching plans with STAD and traditional teaching methods, and teamwork skill evaluation. Data were analyzed by using mean,
standard deviation and paired t-test. The results showed as follows: 1. The learning achievementscores (growth scores) of an experimental group were significantly higher than the learning achievement scores (growth scores)of a control group at significance level of .05. 2. The teamwork skill scores of an experimental students were significantly higher than the teamwork skill scores of a control group at significancelevel of .05 Conclusions: The results of this study indicate that STAD is effective in the enhancement of the students’ confidence and learning and teamwork skill. Thus it is suggested that STAD should be applied to use for other subjects as well.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.