ผลของมาตรการการควบคุมยาสูบโดยสื่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขนาด 85% ต่อการรับรู้และอารมณ์ของกำลังพลกองพันนักเรียน โรงเรียนทหารสื่อสาร

Authors

  • กุมารีรัตน์ ถาวรจิตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่, มาตรการการควบคุมยาสูบ, ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขนาด 85%, smoking behavior, Tobacco Control Measures, 85% color graphic warning pictures on Cigarette Case

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง เพื่อศึกษามาตรการการควบคุมยาสูบโดยสื่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขนาด 85% ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกำลังพลกองพันนักเรียน โรงเรียนทหารสื่อสารปีจำนวน 211 นาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-Square สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการควบคุมยาสูบ โดยสื่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขนาด 85% ในภาพรวมมีผลอยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะประชากร พบว่าโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ว่าบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และอายุมีความสัมพันธ์กับระดับความไม่อยากสูบหรือสัมผัสกลิ่นบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) รวมทั้งปัจจัยมาตรการการควบคุมยาสูบโดยสื่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขนาด 85% ได้แก่ อารมณ์กลัวต่อภาพคำเตือน การรับรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพ การรับรู้ถึงความไม่อยากสูบหรือสัมผัสกลิ่นบุหรี่และการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นเหมือนในภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ส่วนปัจจัยความคิดเห็นต่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่และความไม่อยากสูบบุหรี่หรือสัมผัสกลิ่นบุหรี่สามารถร่วมกันทำนายโอกาสเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 79% ข้อเสนอแนะ คือ ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ที่แสดงให้เห็นถึงอาการแสดงของโรค และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากอันตรายที่ได้รับจากการสูบบุหรี่โดยเฉพาะภาพสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งปอดควรคงไว้ และขนาดภาพคำเตือนที่เพิ่มขึ้นเป็น 85% ของพื้นที่ซองเป็นมาตรการที่มีความเหมาะสมในการสร้างการรับรู้ถึงอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพและสร้างความจดจำภาพได้ดีมากขึ้นส่งผลต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ได้

Result of 85% Color Graphic Warning Pictures Tobacco Control Measure on Perception and Emotions of Army Personnel In Military Signal School

This research is a cross-sectional survey research and aims to study tobacco control measures though 85% color graphic warning pictures on smoking behavior. The population of the study was 211 army personnel in military signal school. The instrument specially constructed was the closed-ended questionnaires. The statistics used to analyze data were descriptive statistics of frequency, percentage, average and standard deviation and Chi-Square, coefficient of multiple correlation and logistic regression analysis. The results showed that the opinions about tobacco control measures though 85% color graphic warning pictures effect were moderate in overall. Testing the relationship between characteristics of the sample group found that having the underlying disease was associated statistically significantly (p<0.05) with the perceived susceptibility of the adverse effect of cigarette smoking. Age factor was associated statistically significantly (p<0.05) with the level of non-smoking preference. as well as the factor of tobacco control measures though 85% color graphic warning pictures include that emotional fear of visual warnings, awareness of the health effects, recognition of non-smoking preference and recognition of having risk to have the same health problem as shown in the visual warnings were associated with cigarette smoking behavior. The factor of opinion toward the visual warnings on cigarette case and non-smoking preference could assembly predict the risk of having a chance to smoke a cigarette at 79%. Based on the findings of the study, it is suggested that the visual warnings on cigarette cases which show the symptoms of a disease and represent the vulnerability to disease from cigarette smoking, especially the visual of cigarette smoking that causes lung cancer should be maintained. The size of visual warnings which is escalated to 85% of the overall cases is the measure that is appropriate in creating awareness of the dangers of cigarette smoking toward health and creating better memorable images which in turn affects the behavior of cigarette smoking cessation.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ถาวรจิตร ก, พฤฒิภิญโญ ฉ, ศิริโชติรัตน์ น. ผลของมาตรการการควบคุมยาสูบโดยสื่อภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขนาด 85% ต่อการรับรู้และอารมณ์ของกำลังพลกองพันนักเรียน โรงเรียนทหารสื่อสาร. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Dec. 19];18(1):140-7. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85290