ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กับเยาวชน ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนชนบท
Keywords:
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เยาวชน, ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก, ชุมชนชนบท, Tobacco Sale to Adolescents, Retailer, RuralAbstract
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนชนบท โดยสังเคราะห์ตัวแปรอิสระจากการวิจัยทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิจัยเชิงคุณภาพที่ผ่านมาของผู้วิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนชนบทของจังหวัดพิจิตร จำนวน 167 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้นแบบขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.9 จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เยาวชน และมีตัวแปรอิสระที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เยาวชนจำนวน 8 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) พฤติกรรมการแบ่งจำหน่ายบุหรี่แบบแยกมวน (β = .396) 2) พฤติกรรมการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการซื้อและเสพผลิตภัณฑ์ยาสูบ (β = .254)3) การนิยามคำว่าเยาวชนที่บิดเบือนไปจากข้อบัญญัติทางกฎหมาย (β = .245) 4) การคล้อยตามพฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบของกลุ่มอ้างอิง (β = .237) 5) ระยะเวลาในการประกอบอาชีพผู้ประกอบการร้านค้าปลีก (β = .146) 6) การมีค่านิยมทางเศรษฐกิจ (β = .140) 7) การรับรู้มาตรการบังคับใช้กฎหมายฯ (β = -.130) และ 8) จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา (β = -.118) ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 8 ตัวแปรในสมการถดถอยพหุคูณที่สร้างขึ้นนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เยาวชนได้คิดเป็นร้อยละ 55.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Predicting Factors of the Tobacco Sale to Adolescents Behavior in Rural Retailers
The purpose of thisdescriptive research were toanalyzing the predicting factors of rural retailer behavior concerning tobacco sale to adolescents. Independent variables synthesized from systematic literature review and qualitative research in the past. This study gathers data through questionnaires to get the opinions of a sample of rural retailers in Phichit province. They were taken througha stratified random sampling to get 167 stores. Data were analyzed by using descriptive statistics andstepwise multiple linear regression. The findings appeared 68.9 percent of samples sale tobacco to adolescents and the predicting factors of rural retailer behavior concerning tobacco sale to adolescentsare composed of 1) behavior of selling single cigarettes or small packages (β = .396), 2) behavior of facilitating customers in trading and consuming tobacco products (β = .254), 3) the definition of adolescents that distorts the law (β = .245), 4) flexibility in the behavior of selling tobacco product among the reference group (β = .237), 5) duration of performing the retailer occupation (β = .146), 6) the economical value (β = .140), 7) perception of law enforcement
(β = -.130) and 8) years of education (β = -.118). The constructed eight independent variables in the multiple regression have a predictive value of 55.4 percent of the variance in the behavior of selling tobacco to adolescents with statistical significance at the level of P<.01
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.