ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดในประเทศไทย
Keywords:
ปัจจัยคัดสรร, สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด, selected factors, perioperative nurses’ competenciesAbstract
ปัจจุบันการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมีความก้าวหน้าอย่างมากเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และวิธีการผ่าตัดการประเมินสมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาพยาบาลห้องผ่าตัดในอนาคตการวิจัยนี้เชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิในประเทศไทย ตามการรับรู้ของตนเองและ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับสมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัดในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลห้องผ่าตัดที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เครื่องมือการวิจัยคือ แบบประเมินสมรรถนะของสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยสมรรถนะ 4 ด้าน 66 ข้อคำถาม ได้แก่การประเมินสมรรถนะการดูแลความปลอดภัยผู้ป่วย การประเมินสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยด้านร่างกาย การประเมินสมรรถนะการพยาบาลเพื่อตอบสนองผู้ป่วยด้านพฤติกรรม และการประเมินสมรรถนะพยาบาลด้านระบบสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยคัดสรรกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดโดยใช้สถิติ Pearson correlation, Spearman correlation และ Chi-square ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลห้องผ่าตัดจำนวน 818 คน เป็นพยาบาลวิชาชีพและส่วนใหญ่จบปริญญาตรีมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี (60%) และผ่านการอบรม (63.8%) ส่วนใหญ่รับรู้ว่าบรรยากาศของที่ทำงานดี (79.5%) และมีจำนวนพยาบาลไม่เพียงพอ (76.3%) การรับรู้สมรรถนะของตนเองอยู่ในระดับสูง (65.8%) โดยมีระดับสมรรถนะผู้เชี่ยวชาญผู้ชำนาญการ และผู้มีความสามารถพอ คิดเป็นร้อยละ 65.8, 24.6, และ 9.5 ตามลำดับ บรรยากาศองค์กรและความเพียงพอของบุคลากรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 และ p<0.01 ตามลำดับ) สรุปได้ว่าสมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงในทุกด้าน และปัจจัยคัดสรรด้านบรรยากาศองค์กรและความเพียงพอของบุคลากรองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัด ดังนั้นหน่วยงานหรือองค์กรควรให้ความสำคัญต่อการจัดอัตรากำลังให้เพียงพอ และการสร้างบรรยายองค์กร เพื่อการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัด
Study of the Relationship Between Selected Factors and Perioperative Nurses’ Competencies in Thailand
Perioperative nursing is advanced due to improving surgical technology and treatment method. Assessment of perioperative nurses’ competencies and its contributing factors is necessary for further improvement. This descriptive research objectives are to assess the perioperative nurses’ competencies in secondary and tertiary hospitals in Thailand and to study the relationship between selected factors and perioperative nurses’ competencies in Thailand. The sample were the perioperative nurses who work in the operating room. The research tool was the assessment form of perioperative nurses’ competency of The Thai Perioperative Nurses Association. The questionnaire was composted of 66 items covering 4 competencies including competency related to patient safety, patient’s physiological response, patient’s behavioral response, and competency of the health care system. The data were analyzed by using Pearson correlation, Spearman correlation and Chi-square. The research found that 818 Thai perioperative nurses responded the questionnaire. Most of them were registered nurses and graduated in bachelor degree. They had more than 10 years experience (60%) and had been trained (63.8%). The majority of them reported that their workplace environment was appropriate (79.5%) and had insufficient number of perioperative nurses (76.3%). Their competencies were high in 4 competencies (65.8%). The levels of competencies including proficient, expert, and competent were 65.8%, 24.6%, and 9.5% respectively. The workplace environment and adequacy of the perioperative nurses were significantly associated with their competencies ( p < .05 และ p<0.01 respectively) By conclusion, most perioperative nurses in Thailand reported high competencies. The organization should concern and provide an appropriate environment and human resource in order to develop competencies.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.