การพัฒนารูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

Authors

  • บุญเกิด หงวนบุญมาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุนทรา โตบัว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วารุณี ลัภนโชคดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ, การประเมิน, Health promotion school, Evaluation

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินและประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และตัวแทนชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์เอกสาร และการบันทึกข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1. เป้าหมายของการประเมิน 2. สิ่งที่มุ่งประเมินหรือองค์ประกอบของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ นโยบายส่งเสริมสุขภาพ งบประมาณ บุคลากร การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ การบริหารจัดการของโรงเรียน การบริการสุขภาพ การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้แก่นักเรียน และสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน 3. วิธีการประเมิน เป็นการประเมินแบบมีส่วน และ 4. เกณฑ์การตัดสินการประเมิน เป็นเกณฑ์การตัดสินตัวชี้วัดของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพซึ่งมีลักษณะเป็นเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการประเมิน พบว่า 1. สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ 2. ให้ผลการประเมินที่ครอบคลุมและถูกต้องตรงตามสภาพจริง 3. ความเป็นประโยชน์ โดยนักเรียนมี สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิตสุขภาวะทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

The Development of an Evaluation Model for Operation a Health Promotion School with Sustainable Participation

The objectives of the study were to develop an evaluation model for operation a health promotion school with sustainable participation, and to evaluate the effectiveness of the evaluation model. The participatory action research method was used for the study. School administrators, teachers,
parents, students, community representatives and nine experts from the field of public health, education and measurement and evaluation. Questionnaires, interviews, observes, focus group discussions, field records, and documentary analysis were used as research tools. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics such as mean, standard deviation, median and percentage. Qualitative data were analyzed by content analysis. The research findings were as follows: 1) The evaluation model comprised of 1. The evaluation objective 2. Operational indicators had 8 components including health policy, budget, staff, health related environment, school management, health services, the improvement of student’s behavior towards heath and students health status. 3. The participatory evaluation was used to evaluate the health promotion school. 4. Evaluate the standard by using the rubric score to evaluate the school health promotion indicators. The developed evaluation model is considered to be effective because 1. it can be applied in a real situation 2. it covers all indicators and factors and 3. after using the evaluation model the physical health, mental health and social health of the students as well as their health behavior improved.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
หงวนบุญมาก บ, โตบัว ส, ลัภนโชคดี ว. การพัฒนารูปแบบการประเมินการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Dec. 19];18(1):74-82. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85263