ปัจจัยทำนายการคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นชาวไทย

Authors

  • เบญจมาภรณ์ รุ่งสาง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นุจรี ไชยมงคล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรรณี เดียวอิศเรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การคิดฆ่าตัวตาย, เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ, ความเครียดทั่วไป, พฤติกรรมการแสดงออกในทางลบ, วัยรุ่น, Suicidal ideation, Stressful events, Overall distress, Negative psychological attribute, Adolescents

Abstract

การคิดฆ่าตัวตาย หมายถึง ความคิด การวางแผน หรือการพยายามกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อจบชีวิตของตนเองการคิดฆ่าตัวตายเป็นตัวชี้วัดของการฆ่าตัวตาย และเป็นสิ่งเริ่มต้นที่สำคัญของการพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายสำเร็จการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดฆ่าตัวตายและปัจจัยทำนายการคิดฆ่าตัวตาย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือ วัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ. 2559 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 408 คน มีอายุเฉลี่ย 15.35 ปี (SD = 1.76) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง ได้แก่ แบบวัดการคิดฆ่าตัวตายแบบสอบถามความเครียดทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการแสดงออก แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบวัดการรับรู้ต่อเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจมีค่าความเชื่อมั่นของครอนบาคเท่ากับ 82, .79, .70, .84, และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าคะแนนการคิดฆ่าตัวตายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ6.61 (SD = 5.05) ซึ่งหมายถึงอยู่ในระดับเสี่ยงสูง การรับรู้ต่อเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจเป็นปัจจัยทำนายที่มีนัยสำคัญทางสถิตที่ดีที่สุด (β = .293) รองลงมาอันดับสองคือความเครียดโดยรวม (β = .163) และอันดับสามคือพฤติกรรมการแสดงออกทางลบ (β = .151) ปัจจัยทำนายทั้งสามนี้อธิบายความแปรปรวนในการทำนายการคิดฆ่าตัวตายได้ร้อยละ 21.7 (F3, 404 = 37.218, p < .001) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลหรือผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลสุขภาพจิตควรวางแผนอย่างเร่งด่วนในการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่มุ่งเน้นให้ลดเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ ความเครียดโดยรวมและพฤติกรรมการแสดงออกทางลบ เพื่อส่งผลให้วัยรุ่นชาวไทยมีการคิดฆ่าตัวตายลดน้อยลง

Predictors of Suicidal Ideation among Thai Adolescents

Suicidal ideation refers to thought, planning or considering of engaging in behavior intended to end one’s life. It is an indicator of suicide and significant in anticipating the suicidal attempt and completed suicide. This study aimed toexamine suicidal ideation and determine factors predicting suicidal ideation among Thai adolescents. A multi - stage random sampling technique was used to recruit a sample of 408 adolescents with a mean age of 15.35 (SD = 1.76) years who were attending secondary schools in 2016, PhathumThani province, Thailand. Research instruments were self - report questionnaires, including, the Scale for Suicidal Ideation, the General Health Questionnaire, the Strengths and Difficulties Questionnaire, the Rosenberg’s Self - Esteem Scale, and the Negative Event Scale. Their Cronbach’s alpha reliabilities were .82, .79, .70, .84, and .85, respectively. Descriptive statisticsand stepwise multiple regression analysis were used to analyzed the data. Results revealed that the mean score of suicidal ideation was 6.61 (SD = 5.05), which was at a high risk. Stressful events was the best significant predictor (β = .293), the second best was overall distress (β = .163) and the third best was negative psychological attribute (β = .151). These three predictors accounted for 21.7% (F3, 404 = 37.218, p < .001) in the prediction of suicidal ideation among Thai adolescents. These findings suggest that nurses or health care providers who are responsible for adolescent health, especially mental health, should urgently plan activities or an intervention focusing on reduce stressful events, overall distress and negative psychological attribute. Consequently, suicidal ideation would be lessened.

Downloads

How to Cite

1.
รุ่งสาง เ, ไชยมงคล น, เดียวอิศเรศ ว. ปัจจัยทำนายการคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นชาวไทย. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Nov. 19];18(1):64-73. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85262