ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคม และพฤติกรรมสุขภาพกับ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ของพนักงานบริษัทไทยน้ำทิพย์ จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ศกลวรรณ แก้วกลิ่น กระทรวงสาธารณสุข
  • สมคิด ปราบภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ปัจจัยทางชีวสังคม, พฤติกรรมสุขภาพ, ความสัมพันธ์, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ, bio-social factors, health behaviors, association, dyslipidemia

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคม และพฤติกรรมสุขภาพกับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic studies) การศึกษาชนิด Unmatched case-controlstudy ศึกษากับพนักงานบริษัทไทยน้ำทิพย์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 324 คน จำแนกเป็น กลุ่มศึกษา 162 คน และกลุ่มควบคุม162 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) โดยใช้การทดสอบไคแสควร์ (Chi-square test) อัตราความเสี่ยง(Odds ratio) และวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression)ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางชีวสังคม และพฤติกรรมสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติของพนักงานบริษัทไทยน้ำทิพย์ จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร (ORadj = 3.27, [95%CI: 1.84-5.84], p < 0.001) มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ มากกว่าค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร การพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย 1 ครั้งต่อปี (ORadj = 3.21, [95%CI: 1.58-6.52], p = 0.001) และ 2 ครั้งต่อปี (ORadj = 4.96, [95%CI: 1.27-19.36], p = 0.021) มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมากกว่าพนักงานที่ไปตรวจสุขภาพประจำปีมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป และปัจจัยป้องกัน ได้แก่ สถานภาพโสด (ORadj = 0.32, [95% CI: 0.11-0.89], p = 0.029) และสถานภาพหย่า/หม้าย (ORadj = 0.42, [95% CI: 0.18-0.98], p = 0.045) มีโอกาสเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติลดลงกว่าสถานภาพสมรส และอยู่ร่วมกัน

Association between Bio-social Factors and Health Behaviors with Dyslipidemia among Employees of Thai Nam Thip Company at Changwat Pathum Thani

This research was aimed to study the association between bio-social factors and health behaviors with dyslipidemia. Observational analytic studies with unmatched case-control study were conducted 324 employees of Thai Nam Thip company at Changwat Pathum Thani. The subjects were divided into 162 cases and 162 controls. Data was collected by a questionnaire, was analyzed by descriptive statistics, including mean, standard deviation and percentages and inferential statistics using chi-square test, odds ratio, and multiple logistic regression. The study found that the bio-social factors and health behaviors associated with dyslipidemia. Risk factors of dyslipidemia include: body mass index ≥ 25 Kg / m2 (ORadj = 3.27, [95% CI: 1.84-5.84], p < 0.001) was risk more than body mass index18.5-22.9 Kg / m2. Physical checkup: 1 time/year. (ORadj = 3.21, [95% CI: 1.58-6.52], p = 0.001) and physical checkup: 2 times/year (ORadj = 4.96, [95% CI: 1.27-19.36], p = 0.021) were risk more than physical checkup: more 2 times/year. Then protective factors include single (ORadj = 0.32, [95% CI: 0.11-0.89], p = 0.029) and divorced/widowed (ORadj = 0.42, [95% CI: 0.18-0.98], p = 0.045) were chance of dyslipidemia reduction than married and live together.

Downloads

How to Cite

1.
แก้วกลิ่น ศ, ปราบภัย ส. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคม และพฤติกรรมสุขภาพกับ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ของพนักงานบริษัทไทยน้ำทิพย์ จังหวัดปทุมธานี. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Nov. 19];18(1):56-63. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85260