อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ความพึงพอใจในข้อมูลที่ได้รับ และประสบการณ์การเกิดโรคกำเริบ ต่อความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมร่วมกับ คอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Authors

  • อลิษษา วิริยะโชติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิชชุดา เจริญกิจการ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมร่วมกับคอร์ติโคสเตีรอยด์, การรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยา, ความกังวลจากการใช้ยา, ความพึงพอใจในข้อมูลที่ได้รับ, ประสบการณ์การเกิดโรคกำเริบ, Inhaled combined bronchodilator and corticosteroid therapy adherence, Perceived med

Abstract

การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ความพึงพอใจในข้อมูลที่ได้รับ และประสบการณ์การเกิดโรคกำเริบต่อความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยา ความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยา และความพึงพอใจในข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคผลการศึกษา กล่มุ ตัวอย่างมีความร่วมมือในการใช้ยา ร้อยละ 61.7 การรับร้คู วามจำเป็นต่อการใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ความพึงพอใจในข้อมูลที่ได้รับ และประสบการณ์การเกิดโรคกำเริบร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมร่วมกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 14.7 ความกังวลจากการใช้ยา และประสบการณ์การเกิดโรคกำเริบทำนายความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น พยาบาลควรประเมินความกังวลจากการใช้ยา ให้ข้อมูลการป้องกัน การจัดการอาการข้างเคียงจากการใช้ยาและเน้นความสำคัญของการให้ความร่วมมือในการใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดโรคกำเริบ

Influences of Perceived Medication Necessity, Medication Concern, satisfaction with Information Received, and Experience of Exacerbation on Adherence of Inhaled Combined Bronchodilator and Corticosteroid Therapy in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease

This correlational predictive study aimed to examine the influences of perceived medication necessity, medication concern, satisfaction with information received and experience of exacerbation on adherence of inhaled combined bronchodilator and corticosteroid therapy in patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Participants were recruited to the study using convenience sampling. The sample consisted of 120 patients. Data were collected by using a Demographic Questionnaire, Medication Adherence
Report Scale, Beliefs about Medicines Questionnaire-Specific and Satisfaction of Treatment Explanation Questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression analysis. The results showed that more than half of the sample (61.7%) had inhaled combined bronchodilator and corticosteroid therapy adherence, while perceived medication necessity, medication concern, satisfaction with information received and experience of exacerbation together contributed for 14.7% of variation on inhaled
combined bronchodilator and corticosteroid therapy adherence in COPD. It was also found that medication concern and experience of exacerbation could predict inhaled therapy adherence in COPD with statistical significance at .05 level. Based on the study’s results, it was suggested that nurses should pay attention to assessing medication concern, provide information about prevention and deal with side effect, emphasize the importance of medication adherence for the prevention of exacerbation. 

Downloads

How to Cite

1.
วิริยะโชติ อ, วัฒนกิจไกรเลิศ ด, เจริญกิจการ ว, เดชสมฤทธิ์ฤทัย ว. อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ความพึงพอใจในข้อมูลที่ได้รับ และประสบการณ์การเกิดโรคกำเริบ ต่อความร่วมมือในการใช้ยาสูดขยายหลอดลมร่วมกับ คอร์ติโคสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Dec. 27 [cited 2024 Nov. 6];17(3):187-96. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/73284