ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์ ต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ติดสุรา
Keywords:
ผู้ติดสุรา, โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์, พฤติกรรมการดื่มสุรา, Alcohol dependence, Motivational interviewing telephone – based continuing program, Alcohol consumption.Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการดื่มสุราก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์ 2) พฤติกรรมการดื่มสุราระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ผู้ติดสุราจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ราย โดยใช้คะแนนจากแบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา (AUDIT) ในการจับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มให้มีลักษณะใกล้เคียงกันและใช้การสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ราย ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์ และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา (ACA) และ 3) แบบวัดความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษา (SOCRATES - 8A) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 ตรวจสอบความเที่ยงโดยวิธีทดสอบซ้ำพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน เท่ากับ 1 และเครื่องมือชุดที่ 3 พบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าเฉลี่ย t – test โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ติดสุรากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์มีพฤติกรรมการดื่มสุราต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ติดสุราที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์มีพฤติกรรมการดื่มสุราต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Effect of Countinuing Motivational Interviewing Telephone – Based Program on Alcohol Consumption in Person with Alcohol Dependence
This study is a quasi-experimental two groups pre – post test design. The objectives of the study were to compare: 1) Alcohol consumption in person with alcohol dependence before and after received countinuing motivational interviewing telephone – based program and 2) Alcohol consumption in person with alcohol dependence between persons who received countinuing motivational interviewing telephone – based program and those who received regular care. The sample consisted of 40 persons attended alcohol
dependence treatment programat Phramongkutklao hospital. They were matched pair with scores from Alcohol Use Identification Test (AUDIT) then randomly assigned to the experimental and control groups, 20 subjects in each group. The experimental group received countinuing motivational interviewing telephone – based program and the control groups received regular caring. The study instruments composed of 1) countinuing motivational interviewing telephone – based program 2) The Alcohol Consumption Assessment (ACA ) and 3) SOCRATES – 8A. The 1st, 2nd and 3rd instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 2nd instruments was reported by Pearson correction as of 1 and the 3rd instruments had Cronbach’s Alpha Coefficient reliability of .82. The data was analyzed using descriptive statistics and t – test at .05 level. Major findings are as follows : 1. Alcohol consumption in person with alcohol dependence who received countinuing motivational interviewing telephone–based program was significantly lower than that before at p .05; 2. Alcohol consumption in person with alcohol dependence who received countinuing motivational interviewing telephone – based program was significantly lower than those who received the regular care at p .05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.