ความสัมพันธ์ระหว่างระดับครีเอตินินในเลือด ค่าอัตราส่วนร้อยละ ของปริมาณเลือดที่บีบตัวออกจากหัวใจ ภาวะซึมเศร้า ระยะเวลาใช้ เครื่องหัวใจและปอดเทียม สภาวะร่างกายและระยะเวลาในการถอดท่อ ช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดชนิดไม่เร่งด่วน
Keywords:
การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, การถอดท่อช่วยหายใจออก, เครื่องหัวใจและปอดเทียม, สภาวะร่างกาย, Open heart surgery, Extubation, Cardiopulmonary Bypass, Physical Conditions.Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับครีเอตินินในเลือดก่อนการผ่าตัด ค่าอัตราส่วนร้อยละของปริมาณเลือดที่บีบตัวออกจากหัวใจ ภาวะซึมเศร้า ระยะเวลาใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม และสภาวะร่างกายกับระยะเวลาในการถอดท่อช่วยหายใจออกหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดชนิดไม่เร่งด่วน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่มีการวางแผนมาก่อน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิ (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบสะดวกจำนวน 96 ราย การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์จากการทบทวนวรรณกรรมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการถอดท่อช่วยหายใจหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลการเจ็บป่วยและการรักษา แบบประเมินสภาวะร่างกาย เครื่องมือแบบวัดภาวะซึมเศร้า (CES - D) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมและสภาวะร่างกาย มีความ สัมพันธ์ทางบวกกับระยะเวลาในการถอดท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (r = .203; p < 0.05 ; r = .362; p < 0.01 ตามลำดับ) ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังและวางแผนการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการถอดท่อช่วยหายใจออกได้ช้าหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และพัฒนาแบบประเมินสภาวะร่างกายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ไปใช้ในการประเมินความพร้อมของผู้ป่วยในการถอดท่อช่วยหายใจออก
The Relationships among Serum Creatinine Level, Ejection Fraction, Depression, Cardio Pulmonary Bypass Time, Physical Condition and Extubation Time in Patients with Elective Open Heart Surgery
This study was a descriptive study aimed to examine the relationships between preoperative serum creatinine levels, ejection fraction, depression, cardiopulmonary bypass time, physical conditions, and extubation time inpatients after elective open heart surgery. This study included a convenience sample of patients undergoing elective open heart surgery in the cardiovascular surgical units of Phramongkutklao Hospital. The sample size of 96 patients was calculated by power analysis. Interview forms on personal data,
illness history and treatment, physical condition questionnaire, and depression scale were applied for data collection. Data was analyzed by Pearson’s Correlation Coefficient. The results demonstrated that CPB time and physical conditions were positively related to extubation time in open heart surgery patients (r = .203; p < 0.05; r = .362; p < 0.01, respectively). Furthermore, serum creatinine level was positively related to depression at r = .219; p < 0.05. Clinical nurses should take the care of patients at risk for delayed extubation after open heart surgery into their consideration for further study to confirm and test these variables in real clinical practice.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.