ความสามารถในการดูดซับความรู้ : อิทธิพลจากภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ กลไกจากช่องทางการรั่วซึมความรู้ และผลกระทบต่อนวัตกรรม ของมหาวิทยาลัยบรรษัทไทย

Authors

  • กรรณิกา เชาว์วัฒนกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดารัตน์ สารสว่าง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ความสามารถในการดูดซับความรู้, กลไกจากช่องทางการรั่วซึมความรู้, ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ, นวัตกรรม, มหาวิทยาลัย, บรรษัท, Knowledge Absorptive Capacity, Transformational Leadership, Knowledge Spillover Channel Mechanism, Innovation, Corporate University

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการดูดซับความรู้ของมหาวิทยาลัยบรรษัทไทย 2) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูดซับความรู้กับภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ และกลไกจากช่องทางการรั่วซึมความรู้ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ กลไกจากช่องทางการรั่วซึมความรู้ที่มีต่อความสามารถในการดูดซับความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยบรรษัทไทย ตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากรสายการสอนและบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยบรรษัทไทยห้าแห่ง จำนวน 330 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (Structure Equation Model : SEM) มีผลการวิจัย ดังนี้ 1) มหาวิทยาลัยบรรษัทไทยมีความสามารถในการดูดซับความรู้ไม่แตกต่างกัน ด้านการตระหนัก (F = 0.26, p = 0.901) ด้านการปรับตัว (F = 1.12, p = 0.346) ด้านการเก็บรักษา (F = 0.62,p = 0.652) ด้านการฟื้นฟู (F = 0.81, p = 0.519) ด้านการเปลี่ยนสภาพ (F = 0.48, p = 0.748) และด้านการประยุกต์ (F = 1.84, p = 0.120) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูดซับความรู้ (r = 0.816) และกลไกช่องทางการรั่วซึมความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูดซับความรู้ (r=0.577) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3) ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ มีความสัมพันธ์ทางอ้อมต่อนวัตกรรมผ่านความสามารถในการดูดซับความรู้ เท่ากับ 0.736 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Chi-Square = 87.186, df =77, p = 0.200, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.02, RMR = 0.01) ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งสามอธิบายความแปรปรวนของ นวัตกรรม ได้ร้อยละ 86.9

Knowledge Absorptive Capacity : Effects of Transformational Leadership, Knowledge Spillover Channel Mechanism, and Impacts on Innovation of Thai Corporate Universities

This quantitative research objective is: 1) to study the knowledge absorptive capacity of corporate university in Thailand. 2) To study the relationship between the knowledge absorptive capacity of transformational leadership and knowledge spillover channel mechanism including the effect of transformational leadership, knowledge spillover channel mechanism on the knowledge and innovation absorptive capacity. Three hundred and thirty samples were drawn from executives, lecturers and staffs from 5 corporate universities in Thailand. Data were analyzed using structural equation modeling. The results revealed that: 1. There were statistically significant difference found among the knowledge absorption capacity of five Corporate universities in Thailand in all six elements of the capacity: which were: 1) Knowledge Recognition (F = 0.26, p = 0.901). 2) Knowledge Assimilation (F = 1.12, p = 0.346). 3) Knowledge Maintenance (F = 0.62, p = 0.652). 4) Knowledge Reactivation (F = 0.81, p = 0.519). 5) Knowledge Transmutation (F = 0.48, p = 0.748). 6) Knowledge Application (F = 1.84, p = 0.120). 2. Transformational leadership was positively correlated with the knowledge absorptive capacity (r = 0.816) and knowledge spillover channel mechanism was positively correlated with the knowledge absorptive capacity (r = 0.577) with a significant rate at 0.01. 3. Transformational leadership was indirectly correlated with innovation through knowledge absorptive capacity at 0.736 with a significant rate at the 0.05 level. Therefore, the impact of transformational leadership on innovation was at 0.057 with no statistically significance. However, there was no statistically significant indirect effect found between knowledge spillover channel mechanism on innovation through the knowledge absorptive capacity. Thus, the total impacts of knowledge spillover channel mechanism on innovation was at 0.726 with a statistically significance at the level of 0.05. (Chi-Square = 87.186, df = 77, p = 0.200, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA. = 0.02, RMR = 0.01) All of 3 causal factors jointly explained 86.9% of variation in innovation.

Downloads

How to Cite

1.
เชาว์วัฒนกุล ก, สารสว่าง ส. ความสามารถในการดูดซับความรู้ : อิทธิพลจากภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ กลไกจากช่องทางการรั่วซึมความรู้ และผลกระทบต่อนวัตกรรม ของมหาวิทยาลัยบรรษัทไทย. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Dec. 27 [cited 2024 Nov. 6];17(3):90-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/73107