ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนา

Authors

  • นภมณ ยารวง สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • โสภาพรรณ อินต๊ะเผือก สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Keywords:

การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ, อาการปวดหลังส่วนล่าง, เกษตรกรชาวนา, Stretching Exercise, Low Back Pain, Rice Farmers

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิด 3 กล่มุ โดยมีกล่มุ ทดลอง กล่มุ เปรียบเทียบและกล่มุ ควบคุม เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดต่ออาการปวดหลัง ในเกษตรกรชาวนา กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรชาวนาในจังหวัดเชียงราย จำนวน 78 ราย แบ่งเป็นกลุ่มละ 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะและสภาพการทำงาน แบบประเมินอาการปวดหลังส่วนล่าง ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม และแบบบันทึกผลความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีชนิด2 กลุ่มเป็นไม่อิสระต่อกัน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของอาการปวดหลังและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมน้อยกว่ากลุ่มอื่น (P < .05) และมีค่าเฉลี่ยความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังและแรงเหยียดหลังมากกว่ากลุ่มอื่น (P < .001) นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังมีคะแนนเฉลี่ยของอาการปวดหลังและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (P < .05) และมีค่าเฉลี่ยความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (P < .001) มีเพียงค่าเฉลี่ยของแรงเหยียดหลังที่ไม่แตกต่างจากก่อนได้รับโปรแกรมฯ ผลจากการศึกษานี้พบว่าสามารถนำโปรแกรมยืดเหยียดกล้ามเนื้อไปใช้ในกลุ่มเกษตรกรชาวนาในพื้นที่อื่น อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสุขภาพที่มักเกิดขึ้นในกลุ่มเกษตกร ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เกิดขึ้น จากปัญหาอาการปวดหลัง ส่วนล่าง อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งเป็นการเพิ่มผลผลิตทางอ้อมให้กับเกษตรกรในอนาคต

Effects of Stretching Exercise Program on Low Back Pain in Rice Farmers

This quasi-experimental study was three groups pre-post test design with an experiment group, a comparison group and a control group. The research was designed to study the effects of stretching exercise on low back pain in farmers. The samples consisted of 78 farmers in Chiang Rai Province. It was divided into three groups, each group consisted of 26 people. The research instruments included an interview from personal data, working condition questionnaire, numerical retting scale, functional ability questionnaire, and a recording of muscle back strength. Data were analyzed by descriptive statistics, paired samples t-test and Ancova. The results showed that after implementing the program, the experimental group had significantly lower mean score of low back pain and functional ability than other group (p < .05) and the higher mean score of flexibility and strength of the back muscles than other group (p < .001). In addition, after performing the program, the experimental group had significantly lower mean score of low back pain and functional ability than before performing the program (p < .05) and the higher mean score of flexibility than before performing the program (p < .001) but only the mean score of the strength of the back muscles which was not different from before performing the program. Results from this study showed that the stretching exercise program can be used for farmers in another area. It can also be applied to other groups. This program reduces low back pain and decrease the cost of treatment. It will be optimize the ability to work and increase productivity of farmers in the future.

Downloads

How to Cite

1.
ยารวง น, อินต๊ะเผือก โ. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนา. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Dec. 27 [cited 2024 Mar. 29];17(3):73-81. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/73103