เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และควบคุมไม่ได้

Authors

  • เกษร มั่นคง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • นิภา กิมสูงเนิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อำภาพร นามวงศ์พรหม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2, ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และควบคุมไม่ได้, Health Promoting Behavior, Type 2 Diabetes, Controlled and Uncontrolled

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเปรียบเทียบผลเพื่อศึกษาสาเหตุ (Causal Comparative Study) มีเป้าหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และควบคุมไม่ได้กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือผู้เป็นเบาหวานที่ได้รับการดูแลและให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3อ2ส มาเป็นระยะเวลา 1 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานมาแล้วไม่เกิน 1 ปี รับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานยาไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และมีอายุ 20 - 59 ปี จำนวน 55 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C ≤ 7%) จำนวน 16 ราย และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ (HbA1C >7%) จำนวน 39 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยตามกรอบแนวคิดของเพนเดอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยสถิติ Mann Whitney U test ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อยู่ในระดับดี และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมระหว่างกลุ่ม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.5)

Comparison of Health Promoting Behaviors of Controlled and Uncontrolled Type 2 Diabetic Patients

This causal comparative descriptive study aimed to investigate and compare health promoting behavior of persons with controlled and uncontrolled diabetes. A purposive sampling was used in this study. The sample comprised 55 patients who were clinically diagnosed with type 2 diabetes mellitus, and who received medical services at the diabetic clinic of the hospital, was recruited for this study. Inclusion criteria included (1) to be diagnosed with diabetes less than 1 yr, (2) to be treated with oral medication and used to be trained in the 3อ2ส program, (3) no diabetic complication and (4) 20-59 years old. The sample was divided into 2 groups, 16 were in the controlled diabetes group and 39 were in the uncontrolled diabetes group. Data were collected by using the demographic data, and Health Promoting Behavior Questionnaire based on Health Promotion Model’s Pender, developed by the researcher. Additionally, interviewing was also used. Data were analyzed by using Mann whitney U test. The findings showed that health promoting behaviors of the controlled diabetes group were at a good level while the uncontrolled diabetes group were at a poor level. The health promoting behaviors were statistically significant difference (p < 0.5).

Downloads

How to Cite

1.
มั่นคง เ, กิมสูงเนิน น, นามวงศ์พรหม อ. เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และควบคุมไม่ได้. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Dec. 27 [cited 2024 Nov. 22];17(3):54-62. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/73085