ผลของดนตรีบำบัดต่อระดับความวิตกกังวล ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด

Authors

  • รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ดนตรีบำบัด, ความวิตกกังวล, การผ่าตัดคลอด, music therapy, anxiety, caesarean section

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด ที่ห้องผ่าตัดสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด จำนวน 68 ราย ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม 2559 สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ block randomization เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 34 คน กลุ่มทดลองได้ฟังดนตรีบำบัดขณะอยู่ที่ห้องรอผ่าตัดนานเวลา 15 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกตินานเวลา 15 นาที โดยประเมินความวิตกกังวลของผู้ป่วยด้วยแบบวัดความวิตกกังวลด้วยสายตา ซึ่งประเมินก่อนและหลังได้รับกิจกรรมดนตรีบำบัดหรือกิจกรรมการพยาบาลตามปกติ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยด้วยสถิติทดสอบที ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดขณะรอการผ่าตัดของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าดนตรีบำบัดส่งผลให้ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยขณะรอเข้ารับการผ่าตัดคลอดลดลง จึงมีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมการนำดนตรีบำบัดในช่วงเวลาสั้น ๆ ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด

The Effect of Music Therapy on Anxiety Level in Patients under Going Caesarean section

This study was a randomized-controlled trial aiming to explore the effect of music therapy on anxiety level in patients undergoing caesarean section in obstetrics and gynecology operating theater, Faculty of medicine, Ramathibodi hospital. Participants included 68 patients undergoing caesarean section from March to May 2016. Through blocked randomization by computer, participants were randomly assigned into experimental (n = 34) and control groups (n = 34). At holding area, the experimental group listened to music
therapy for 15 minutes prior to surgery while the control group received conventional nursing care. Visual Analogue Scale for anxiety (VAS-A) was used to assess patients’ anxiety level before and after receiving intervention or conventional nursing care program. Anxiety level was analyzed using Independent t-test. The results showed that the patients undergoing caesarean section had lower pre-operative anxiety level than the control group. Therefore, a short period on music therapy should be promoted as a part of nursing care to reduce anxiety level in patients undergoing caesarean section.

Downloads

How to Cite

1.
เพิ่มเพ็ชร์ ร, บุตรศรีภูมิ เ. ผลของดนตรีบำบัดต่อระดับความวิตกกังวล ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Dec. 27 [cited 2024 Nov. 25];17(3):34-43. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/73081