ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยเน้นการพยาบาลแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างเป็นองค์รวมของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Authors

  • บุญทิวา สู่วิทย์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • สุณี พนาสกุลการ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • ขจี พงศธรวิบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • นิรมนต์ เหลาสุภาพ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยเน้นการพยาบาลแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างเป็นองค์รวมของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ศึกษาในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดหมุนเวียนมาให้ขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล จำนวนทั้งหมด 35 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) มีค่า IOC = 1 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างเป็น องค์รวมของนักศึกษาพยาบาล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity)มีค่า IOC = 1 ค่าความเชื่อมั่น (reliability) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s Alpha Coefficient) = 0.786 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า1. รูปแบบการเรียนรู้โดยเน้นการพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล แบบประคับประคองอย่างเป็นองค์รวม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การเห็นคุณค่าการเรียนรู้ 2) การใช้ผัง มโนทัศน์ 3) การเรียนรู้โดยเน้นประสบการณ์4) การคิดไตร่ตรองและสะท้อนความรู้สึก (reflection) และ 5) การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสม (give feedback)2. นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างเป็นองค์รวม ก่อนการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ มีค่าเท่ากับ 3.12 อยู่ในระดับปานกลาง และหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ มีค่าเท่ากับ 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด และสามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างเป็น องค์รวมได้มากกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Effects of Using Learning Model for Promoting the Holistic Palliative care among Nursing Students, Kuakarun Faculty of Nursing,
Navamindradhiraj University

This research investigated the effects of using learning model for promoting the holistic palliative care among nursing students of Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. The study was conducted with 35 third-year nursing students who were arranged on a rotating basis to be trained on the chemotherapy ward of Vajira Hispital. The research instruments consisted of self-developed learning model which was checked for its content validity with an IOC value of 1, and questionnaire related to the holistic palliative care among nursing students which was checked for its content validity with an IOC value of 1, and reliability with a Cronbach’s Alpha Coefficient value of 0.786. The methods used for data analysis were descriptive statistics and t-test statistics. The research finding are as follows: 1. The learning model for promoting the holistic palliative care consists of 5 procedures; 1) Value of learning 2) Concept mapping 3) Experience learning 4) Reflection and 5) Giving feedback. 2. Before the self-developed learning model was implemented, the mean scores on holistic palliative care of the nursing students were 3.12 which was in the moderate on the scale while after it was implemented, the mean scores on holistic palliative care of the nursing students were 4.64 which was in the highest on the scale. In addition, the nursing students were capable of better performing the holistic palliative care compared with prior to learning which was significant at the .001 level.

Downloads

Published

03-05-2018

How to Cite

1.
สู่วิทย์ บ, พนาสกุลการ ส, พงศธรวิบูลย์ ข, เหลาสุภาพ น. ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยเน้นการพยาบาลแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างเป็นองค์รวมของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2018 May 3 [cited 2024 Nov. 6];19(1):210-2. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/121960