ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุของสถานสงเคราะห์คนชรา

Authors

  • สุมนทิพย์ บุญเกิด มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ปวีณา ระบำโพธิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมฤดี ดีนวนพะเนา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศริญญา นาคสระน้อย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • กัลยา ไผ่เกาะ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 84 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson,s correlation ผลการศึกษา พบภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุร้อยละ 28.57 จากงานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนทางสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง x = 91.99 (คะแนนเต็ม 175) เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในด้านการมีคุณค่าแห่งตนในระดับปานกลาง x = 22.0 (คะแนนเต็ม 35)ความใกล้ชิดและรักใคร่ผูกพันในระดับต่ำ x = 17.93 (คะแนนเต็ม 35) การมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในระดับต่ำ x = 17.31 (คะแนนเต็ม 35) การมีโอกาสเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่นในระดับต่ำ x = 15.81 (คะแนนเต็ม 35) และการได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำด้านต่างๆ ในระดับต่ำ x = 18.43 (คะแนนเต็ม 35) และค่าคะแนนของการได้รับการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับค่าคะแนนภาวะซึมเศร้า (p>0.05)

The Relationship between Social Support and Depression of The Elderly in The Elderly Home

This study was a descriptive study aimed to examine the relationships between social support and depression of the elderly. The sample size was 84 elderly voluntaries who lived at the elderly home in Nakhonratchasima provincial administrative organization. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation Pearson, s Correlation Coefficient. The results showed that the prevalence of depression was 28.57 percent among elderly. The participant received the social support at median level ( x = 91.99 from 175) at the median level in reassurance of worth ( x = 22.0 from 35) and found at the median level in attachment support ( x = 17.93 from 35), social integration support ( x = 17.31 from 35), opportunity for nurturance support ( x = 15.81 from 35) and guidance support ( x = 18.43 from 35). There was no relationship between social support and depression (p>0.05).

Downloads

Published

03-05-2018

How to Cite

1.
บุญเกิด ส, ระบำโพธิ์ ป, ดีนวนพะเนา ส, นาคสระน้อย ศ, ไผ่เกาะ ก. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุของสถานสงเคราะห์คนชรา. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2018 May 3 [cited 2024 Nov. 23];19(1):182-90. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/121950