ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาทักษะการจัดการความรู้ต่อพฤติกรรม การจัดการความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของแกนนำกลุ่มสูงอายุ ชุมชนเทศบาลเมืองคลองหลวง
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมพัฒนาทักษะการจัดการความรู้ต่อพฤติกรรมการจัดการความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของแกนนำกลุ่มสูงอายุ ชุมชนเทศบาลเมืองคลองหลวง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มทดลอง 28คนได้รับโปรแกรมการฝึกอบรม 45 ชั่วโมง บนฐานแนวคิดเรื่อง “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” “การรวมกลุ่มเป็นชุมชนปฏิบัติการ (CoP.)”และ “การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” กลุ่มควบคุม 24 คน ได้รับโปรแกรมบริการสุขภาพตามปกติของศูนย์บริการสุขภาพ เครื่องมือรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการจัดการความรู้สร้างจาก เซกิโมเดล (SECI Model) ทดสอบความสอดคล้องด้วย KAPPA Test ได้ค่าเท่ากับ 0.843 วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติ The Wilcoxon Signed-Ranks Test และ The Mann- Whitney U- Testผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการจัดการความรู้หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง (z = 4.66) และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการจัดการความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม (z = 3.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Effects of the Using Knowledge Management Skill Developmental Program on Knowledge Management Behaviors for Health Promotion of the Elder Leaders at Klong Luang Municipality Community
This quasi-experimental research had a purpose to examine the effect of knowledge management skill developmental program on knowledge management behaviors for health promotion of the elder leaders at Klong Luang Municipality Community. For the twenty-eight elders in experimental group, the program was designed for 45 hours of training; theory, practice, and field study, based on the concepts of life-long learning, community of practice(CoP.), and learner center; while the routine health services were provided for the twenty-four elders in control group. The tool for collecting data was an observation form of knowledge management behaviors of the elders based on the SECI Model in which the KAPPA test of agreement was 0.843. By using the Wilcoxon Signed-Rank test and the Mann-Whitney U- test, the analysis revealed that the elders in experimental group, after the experiment, had more management behaviors than before the experiment; and also had more management behavior than the control group, with the statistical significance at the level of .05 (Z = 4.66, Z = 3.67).
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.