ผลของสมาธิเพื่อการเยียวยาของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ในกรุงเทพมหานครและสุราบายา

Authors

  • จินตนา อาจสันเที๊ยะ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • นิปูตู วูลาน เพอร์นามา สารี มหาวิทยาลัย Widya Mandala อินโดนิซีย

Abstract

ผลของสมาธิเพื่อการเยียวยาในผู้สููงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสมาธิเพื่อการเยียวยาในโรคไม่ติดต่อ ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ผลต่อระดับความดันโลหิต และคุณภาพชีวิต รวมถึงการสนับสนุนด้านจิตวิญญาณทัศนคติของผู้สูงอายุ การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อในชุมชน จำนวน 196 คน และอาศัยในกรุงเทพ และสุราบายา อินโดนิเซีย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Repeated measure ANOVA test ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อในกรุงเทพ มีระดับความเครียดในระดับปานกลางจากระดับเริ่มศึกษา ที่ 36.9 และลดลงเป็น 31.75 เมื่อสิ้นสุดการศึกษา ผลต่อระดับความดันโลหิตและ ระดับน้ำตาลในเลือดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการวัดแต่ละครั้งของทุกเดือน ผลวิจัยจากผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อของสุราบายาอินโดนิเซีย พบว่าผู้สูงอายุมีระดับความเครียดจากระดับสูง ลดลงเป็นระดับกลาง ที่ 47.31 และลดลงเป็นค่าเฉลี่ยที่ 33.86 ผลการฝึกสมาธิเพื่อการเยียวยาต่อความดันโลหิตมีความแตกต่าง แต่ผลของระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่าง สำหรับด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพและสุราบายา มีระดับคุณภาพชีวิตที่ระดับปานกลางจากแบบสอบถามของ WHOQOL-BREF ดังนั้นการปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำให้มีความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ ทัศนคติและ ความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นทางเลือกเสริมของการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่ประหยัดได้ประสิทธิภาพ

The Effects of Meditation-Healing Exercise in Elderly Who are Living with Non-Communicable Disease in Bangkok and Surabaya

The effects of meditation-healing exercise among elderly who lives with non-communicable disease. The purposes of the study were to determine the effects of meditation-healing exercise on non-communicable disease, blood glucose, blood pressure level, quality of life, psychological support, and attitude of elderly. The study utilized a one group pretest-posttest quasi-experimental research design among 196 elderly in selected communities in Bangkok, Thailand and Surabaya, Indonesia. Descriptive analysis and repeated measure ANOVA were utilized for data analysis of the study. In Bangkok, the effects of meditation-healing exercise on stress found that the elderly had moderate stress level (at 36.9 and decrease to 31.75), the blood pressure and blood sugar level were significantly different effect in the each measurement of every month. In Surabaya, the elderly reported a change from high to moderate mean scores (at 47.31 and decrease to 33.86)
in the stress level. The result of the blood pressure showed significant effect, but the blood sugar level was not significant. Both Bangkok and Surabaya reported to have a moderate quality of life (QOL) level. In general, meditation-healing exercise affected the overall quality of life on psychological support, attitude and blood pressure level of the elderly in community. Thus, meditation-healing exercise is safe and effective method in health care.

Downloads

Published

03-05-2018

How to Cite

1.
อาจสันเที๊ยะ จ, วูลาน เพอร์นามา สารี น. ผลของสมาธิเพื่อการเยียวยาของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ในกรุงเทพมหานครและสุราบายา. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2018 May 3 [cited 2024 Nov. 6];19(1):74-83. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/121916