กลยุทธ์การฟื้นฟูพลังสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

Authors

  • มุกข์ดา ผดุงยาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • อัญชลี ช. ดูวอล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Abstract

พลังสุขภาพจิต เป็นคุณลักษณะและความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคล ช่วยให้บุคคลที่ประสบปัญหาชีวิตเนื่องจากสาเหตุต่างๆ สามารถปรับตัวและฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุลได้ ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสรีรภาพและจิตสังคมโดยธรรมชาติ เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาโรคเรื้อรังร่วมด้วยอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมถอยมากขึ้นเป็นทวีคูณถ้ามีพลังสุขภาพจิตที่ไม่แข็งแรง การฟื้นฟูพลังสุขภาพจิตจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตนเองให้กลับคืนสู่สมดุลได้ ผู้เขียนได้นำเสนอกลยุทธ์การฟื้นฟูพลังสุขภาพจิต 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพและพลังสุขภาพจิต 2) การให้กำลังใจ3) การส่งเสริมการทำกิจกรรมในวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง 4) การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และ 5) การตอกย้ำความสามารถเฉพาะตน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตในผู้สูงอายุให้มีมุมมองชีวิตในทางบวกมากขึ้น มองตนเองและโลกเป็นไปตามความเป็นจริงของชีวิต มีศรัทธา ความหวัง สามารถเปิดรับ และให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการดำเนินชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น

Rehabilitation Strategies for Resilience Quotient in the Elderly

Resilience quotient is a characteristic of an individual to bounce back in balance when faced with difficulties in life, and turn adversity into advantage and threat into opportunity. It’s a set of skills and behaviors that individual can develop, in any age, circumstance or experience. Elderly has physical and psychological changes by nature, but combined with chronic diseases will be deteriorated if individuals have a low resilience quotient. Resilience rehabilitation would be the effective intervention for improving self-esteem to keep balance for those elderly. This article presents 5 strategies effective for improving resilience quotient among elderly: 1) assess individual’s perceptions about health status and resilience; 2) encouragement; 3) promote healthy daily activities; 4) promote self-esteem; and 5) emphasize individual’s capability, as a guide for the multi-disciplinary healthcare team in their initiative for promotion of positive thinking among elderlies. Eventually, this will impact quality of life for elderly.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

03-05-2018

How to Cite

1.
ผดุงยาม ม, ช. ดูวอล อ. กลยุทธ์การฟื้นฟูพลังสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2018 May 3 [cited 2024 Dec. 23];19(1):66-73. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/121914