บทบาทพยาบาล: กรณีศึกษาการดูแลด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

Authors

  • จินตนา อาจสันเที๊ยะ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • รัชณีย์ ป้อมทอง คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Abstract

บทบาทพยาบาลในการดูแลด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต ซึ่งผู้ดูแลมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วยระยะท้ายต้องการการดูแลที่ต่อเนื่องที่ไม่อาจกำหนดเวลาที่สิ้นสุดเป็นเหตุให้ผู้ดูแลมีความเหนื่อยล้า มีความทุกข์ด้านจิตใจจากอาการเจ็บป่วยของบุคคลอันเป็นที่รักที่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมีทั้งระยะก่อนและหลังการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ดังนั้น พยาบาลจึงต้องร่วมวางแผนการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่เป็นการวางแผนการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม การให้คำปรึกษาแนะนำที่เหมาะสม รวมทั้งการดูแลหลังการสูญเสีย (bereavement care) ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลหลังการสูญเสียเกิดดังนี้ เช่น ใจสั่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เศร้า เสียใจ รู้สึกผิด โกรธตนเอง ไม่มีสมาธิ สับสน หรือ ปฏิเสธไม่ยอมรับว่ามีการสูญเสียเกิดขึ้น ดังนั้นบทบาทอิสระของพยาบาลในการดูแลอย่างเอื้ออาทรจึงเป็นหัวใจของงานที่มีความหมายและมีความสำคัญมากกว่าการรักษาตามอาการเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลรู้สึกทุเลาจากภาวะเครียดและปรับตัวยอมรับการสูญเสียได้ดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรทำความเข้าใจกับปัญหาด้านจิตใจของผู้ดูแล ซึ่งมีความสำคัญต่อการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดคุณภาพการดูแลที่นำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ดูแลและผู้ป่วยเป็นอย่างดี รวมทั้งการยอมรับความจริงของชีวิตได้ในที่สุด

The nurse ’s role in psychological care of care giver with end of life patient has objective for studying psychological problems of caregiver in taking care end of life patients. The caregivers are important role for  developing quality of life. Continuing care and unlimited the duration of care lead to the cause of tired and fatigue of caregivers so psychological suffering might be occurred. The caregivers encounter with suffering with the illness of the beloved one before and after the patient’s death. Consequence, The nurses should have managing plan with the caregivers for continuing care in holistic care and appropriate counselling including bereavement care to relief suffering and stress. The reactions of caregivers after losing of the love ones are thrill ,insomnia, sad ,guilty, less concentration, confusion, or denial of loss. So in the independent role of nursing in holistic care is an important to give the worth and the value of caring more than treatment .That lead to relief suffering and stress of caregiver.

Downloads

Published

03-05-2018

How to Cite

1.
อาจสันเที๊ยะ จ, ป้อมทอง ร. บทบาทพยาบาล: กรณีศึกษาการดูแลด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2018 May 3 [cited 2024 Apr. 17];19(1):1-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/121641