คุณภาพชีวิตข้าราชการบำนาญกองทัพอากาศและครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และได้รับการดูแลแบบประคับประคอง

Authors

  • วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • สิริพร บุญเจริญพานิช วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ข้าราชการบำนาญกองทัพอากาศ, โรคเรื้อรัง, การดูแลแบบประคับประคอง, Quality of life, Air Force Retirees, Chronic illness, Palliative care

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต ปัญหาทางร่างกายและจิตใจของข้าราชการบำนาญกองทัพอากาศและครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ประชากรจำนวน 153 คน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างแบบตามความสะดวกได้จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข WHOQOL–BREF–THAI มีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค อัลฟ่า เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าข้าราชการบำนาญกองทัพอากาศและครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและได้รับการดูแลแบบประคับประคอง มีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ระดับกลาง ๆ ร้อยละ 80 (88 ราย) ปัญหาด้านร่างกายที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาการปวดตามร่างกาย และปัญหาด้านจิตใจส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเตียง คือรู้สึกท้อแท้ หดหู่ และซึมเศร้า ผลจากการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการบำนาญกองทัพอากาศและครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและได้รับการดูแลแบบประคับประคองให้มีคุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น

Quality of Life of Air Force Retirees and Families with Chronic illness Received Palliative care

This research aimed to study quality of life level, physical and psychological problems of Air Force Retirees and families with chronic illness and received palliative care. Population was 153 Air Force Retirees and families with chronic illness. Convenient sampling was used to recruit 110 participants. Research instrument was WHOQOL–BREF–THAI questionnaires; Cronbach’s alpha coeffcient was 0.89. Descriptive statistic was used
for data analysis. The results revealed that the quality of life of Air Force Retirees and Family with Chronic illness and received palliative care was at medium level (80%, n = 88). The most common found related to physical problem was pain. Psychological problems mostly found in bed ridden patients were feeling downhearted and depression. The results of this study could be used as a guideline to promote a better quality of life of
Air Force Retirees and family with chronic illness and received palliative care.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

26-12-2017

How to Cite

1.
เปาโรหิตย์ ว, บุญเจริญพานิช ส. คุณภาพชีวิตข้าราชการบำนาญกองทัพอากาศและครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และได้รับการดูแลแบบประคับประคอง. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Dec. 26 [cited 2024 Dec. 19];18(3):244-50. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/109310