แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม
Keywords:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, หญิงวัยเจริญพันธุ์, health belief model, pap smear screening test, reproductive womenAbstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม จำนวน 400 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล และแบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงวัยเจริญพันธุ์ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีค่าเฉลี่ย 132.40 คะแนน จากคะแนนเต็ม 190 คะแนน สำหรับความเชื่อด้านสุขภาพรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ย 31.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน รองลงมาคือ ด้านการรับรู้
ประโยชน์ของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในเกณฑ์ดี ค่าเฉลี่ย 24.67 คะแนน และ 22.34 คะแนน จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน และ 30 คะแนนตามลำดับ ส่วนการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และแรงจูงใจด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ค่าเฉลี่ย 23.52 คะแนน และ 29.23 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน และ 50 คะแนนตามลำดับ จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพควรใช้กลวิธีผสมผสานในการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และควรสร้างแกนนำผู้หญิงในหมู่บ้านหรือชุมชนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
Health Belief Model on Pap Smear Screening Test Among Reproductive Women in Raikhing Municipality of Nakhon Pathom Province
This exploratory research aimed to study health belief on pap smear screening test among reproductive women. The sample composed of four-hundred reproductive women in Raikhing municipality of Nakhon Pathom Province. Purposive sampling method was used in this study. Data were collected by using a questionnaire which had two parts including personal information and health beliefs on pap smear screening test. The study results revealed that the samples had a good perception of health beliefs on pap smear screening test in general ( = 132.40 out of 190) For each part of health beliefs founded that the samples had perceived barriers of cervical cancer prevention in excellent score ( = 31.57 out of 35), rerceived benefts of cervical cancer prevention and perceived severity of cervical cancer in good average score ( = 24.67 out of 35 , = 22.34 out of 30 ). Both of perceived susceptibility of cervical cancer and health motivation in cervical cancer prevention are moderate average scores ( = 23.52 out of 40, = 29.23 out of 50). The results indicated that health care provider should consistently apply integrated strategies in
pap smear screening test campaign. In addition, empowering women in community to be leader for health education and strengthen the positive attitude toward pap smear screening test.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.