ประสิทธิผลของการบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก
Keywords:
การบูรณาการการบริการวิชาการ, การจัดการเรียนการสอน, สมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช, นักเรียนพยาบาล, integrated academic service, teaching-learning arrangement, psychiatric nursing practice competency, Army NursingAbstract
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบูรณาการ การบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 83 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง
เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ซึ่งมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbachalpha coeffcient) เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบที (t-test) ทดสอบความแตกต่างของสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักเรียนพยาบาลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลจากการวิจัยประสิทธิผลของการบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประสิทธิผล
ในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงเป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ที่ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป
Effectiveness of the Integrated Academic Service and Teaching-Learning Arrangement in Psychiatric Nursing Practicum Course to Psychiatric Nursing practice competency in Army Nursing
This study aimed to study the instructional integration on integrated academic service and teaching-learning arrangement in psychiatric nursing practicum course to psychiatric nursing practice competency in Army Nursing. Purposive sampling was used to recruit the sample. They were 83 of 3rd year nursing students who participated in psychiatric nursing practicum course. The instruments included psychiatric nursing practice competency in Army Nursing of study questionnaire with Cronbach’s alpha coeffcient .97 Descriptive statistic (percentage, mean, and standard deviation) was used to analyze the data. The fnding revealed that the average scores of psychiatric nursing practice competency were high in nursing students. The results revealed that psychiatric nursing practice competency before and after participated in teaching-learning arrangement in psychiatric nursing practicum course was signifcantly different at .05 level. Instructional integration on academic service and teaching-learning arrangement in psychiatric nursing practicum course to psychiatric nursing practice competency in Army Nursing should be applied for using in further teaching and learning courses.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.