ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด
Keywords:
ความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่, ความวิตกกังวล, การสนับสนุนทางสังคม, คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด, severity of incontinence, anxiety, social support, quality of life, prostate cancer patients following radical prostatectomyAbstract
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเชิงบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ความวิตกกังวลการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่มารับการตรวจติดตามการรักษาหลังการผ่าตัดตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ที่หน่วยตรวจรักษาผู้ป่วยนอก หรือคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการทางด้านศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2557 จำนวน 112 รายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แบบวัดความวิตกกังวลแบบสอบถามวัดการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมดอยู่ในระดับสูงมาก ความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.42, p < .01 และ r = -.20, p < .05 ตามลำดับ) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .59, p < .01)
Factors Associated with Quality of Life of Prostate Cancer Patients Following Radical Prostatectomy
This research aimed at investigating factors associated with the quality of life of prostate cancer patients following radical prostatectomy. The study sample consisted of 112 prostate cancer patients who had undergone radical prostatectomy at least three months prior and who have had follow-up examinations at the outpatient clinic or the special after-hour urological clinic of Siriraj Hospital between April and July, 2014. Data were collected using the demographic characteristics questionnaires, the severity of incontinence assessment scale, the anxiety scale, the multidimensional social support questionnaire, and the quality of life of prostate cancer patient questionnaire. Spearman’s correlation coeffcient was used in the data analysis. The study fndings showed that the quality of life of prostate cancer patients following radical prostatectomy was at a very high level. The severity of incontinence and anxiety were negatively related to the quality of life with statistical signifcance (r = -0.42, p < 0.01), (r = -0.20, p < 0.05). The social support was positively related to the quality of life with statistical signifcance (r = 0.59, p <0.01).
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.