ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรกต่อความวิตกกังวลของมารดา

Authors

  • ฐิติมา วัฒนเสรีเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วราภรณ์ ชัยวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย, การเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรก, ความวิตกกังวลของมารดา

Abstract

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรกต่อความวิตกกังวลของมารดา กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 61 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 31 คน ก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรก กลุ่มทดลองได้รับการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ประกอบด้วย ข้อมูลสิ่งที่มารดาต้องเผชิญเมื่อเข้าเยี่ยมผู้ป่วยครั้งแรกจากการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ข้อมูลที่เกิดตามลำดับเหตุการณ์ ข้อมูลลักษณะสภาพแวดล้อมของหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก สภาพผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ และข้อมูลที่บอกถึงสาเหตุของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสนั้น ความวิตกกังวลวัดด้วยแบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญของ Spielberger และคณะ ฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดย นิตยา คชภักดี และคณะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ความวิตกกังวลของมารดากลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรกลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The Effect of Providing Concrete-Objective Information Before the First Visit to Pediatric Patients in Intensive Care Unit on Maternal Anxiety

The purpose of this experimental research was to study the effect of providing concrete-objective information before the frst visit to intensive care unit on maternal anxiety. Sixty-one mothers of pediatric patients in intensive care unit, Ramathibodi hospital were randomly assigned to the experimental (n = 30) and the control group (n = 31). Prior to the frst visit to the intensive care unit, the concrete-objective information was provided to mothers in the experimental group. The information included physical sensation and symptoms, temporal characteristics, environmental features, and cause of sensation, symptoms and experiences. Maternal anxiety was measured by the State Anxiety Inventory – Thai version. Data were analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation and t-test.

Downloads

Published

26-12-2017

How to Cite

1.
วัฒนเสรีเวช ฐ, ชัยวัฒน์ ว. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรกต่อความวิตกกังวลของมารดา. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Dec. 26 [cited 2024 Nov. 19];18(3):91-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/107553