ทฤษฎีความสามารถของตนเองกับการเลิกสูบบุหรี่

Authors

  • พรรณี ปานเทวัญ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

ทฤษฎีความสามารถของตนเอง, การเลิกสูบบุหรี่, Self-Effcacy Theory, Smoking Cessation

Abstract

การสูบบุหรี่เป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลกซึ่งก่อให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ปัจจุบันแนวทางหนึ่งของการลดอัตราการสูบบุหรี่ คือ การช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยานิโคตินทดแทนและการป้องกันไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้น ในปัจจุบันพบว่ามีผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อยที่เข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือพยายามเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเองแต่ยังไม่สามารถเลิกสูบได้และกลับไปสูบบุหรี่ใหม่เนื่องจากการติดสารเสพติดและขาดแรงจูงใจโดยเฉพาะการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีไม่เพียงพอ ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลิกสูบบุหรี่ที่ผ่านมาพบว่าบุคคลที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองในระดับสูงจะสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ดังนั้นทฤษฎีความสามารถของตนเองจึงมีความสำคัญในการนำมาใช้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้สูบบุหรี่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างถาวร ดังนั้นการทบทวนแนวคิดทฤษฎี วิธีการสร้างความสามารถของตนเองและหลักฐานเชิงประจักษ์จะช่วยให้บุคลากรในวิชาชีพสุขภาพสามารถออกแบบการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือผู้สูบบุหรี่ให้มีความมั่นใจในการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จต่อไป

Self-Effcacy Theory and Smoking Cessation

Cigarette smoking is a major public health problems in the world that is the leading causes of preventable disease and premature death. At present, the guidelines to reduce smoking rates are helping smokers to quit by behavior modifcation combined with nicotine replacement therapy and preventing a number of new smokers. According to a lot of research, most smokers who attempt to quit smoking by themselves fail to quit and relapse due to tobacco addiction and/ or insuffcient motivating factors, especially inadequate self-effcacy to quit. From the previous studies about factors that influenced to smoking cessation revealed that persons who had high self-effcacy were able to successfully quit smoking. Hence, self-effcacy theory is important to use for improving an individual’s self-confdence to change their smoking behaviors. Therefore, review about the theory, techniques how to enhance self-effcacy and evidence based will guide health care professional to design intervention and appropriate activities for smokers to have self-confdence and successfully quit smoking.

Downloads

Published

26-12-2017

How to Cite

1.
ปานเทวัญ พ. ทฤษฎีความสามารถของตนเองกับการเลิกสูบบุหรี่. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Dec. 26 [cited 2024 Nov. 19];18(3):35-43. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/107007