ผลของการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยมะเร็ง ระยะแพร่กระจายต่อจำนวนวันนอนและคุณภาพการพยาบาล
Keywords:
การจัดการผู้ป่วยรายกรณี, การดูแลแบบประคับประคอง, จำนวนวันนอน, คุณภาพการพยาบาล, มะเร็งระยะแพร่กระจายกระดูกสันหลัง, case management model, palliative care, length of stay in hospital, quality as perceived by nurse, patients with metastatic spineAbstract
การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายกระดูกสันหลังและระดับคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล ระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยใช้การพยาบาลแบบปกติ และการดูแลผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายกระดูกสันหลัง 10 คน คัดเลือกและจัดเข้ากลุ่มที่ใช้เกณฑ์เปรียบเทียบโดยด้วยวิธีการจับคู่ ตามรายโรค อายุ เพศ และระดับความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และกลุ่มพยาบาล 10 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โครงการอบรม แผนการดูแลผู้ป่วย คู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคอง แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี แบบบันทึกจำนวนวันนอน และแบบสอบถามการรับรู้คุณภาพพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ สถิตินอนพาราเมตริก Mann-Whitney U test และ Wilcoxon matched -pairs signed-ranks test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จำนวนวันนอนของผู้ป่วยหลังการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคองน้อยกว่าจำนวนวันนอนของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ และคุณภาพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมทุกด้านหลังการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการดูแลแบบประคับประคองดีกว่าการพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
Effects Of Case Management Combined With Palliative Care Modelin Patients With Metastatic Cancer On Length Of Stay And Quality Of Nursing Care
The purpose of this quasi-experimental research were to compare the length of stay in hospital of patients with metastatic spine quality of care as perceived by nurses after using case management model with palliative care in Spinal unit Siriraj hospital. The research subject composed of 10 nurses who worked in Spinal unit and 10 patients who had diagnose of metastatic spine , case selected using matched with variable for disease, age, gender and level of activity of patients receiving palliative care (palliative performance scale). The research instrument were consisted of training project of case management model with palliative care, clinical pathway, manual for metastatic spine patient, observation form of nursing practice length of stay in hospital record and questionnaire for quality of nursing care. Data were analyzed by using standard deviation, statistical parametric Mann-Whitney U test and Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test. The results of this study revealed that After using a case management model for patients with palliative care, it demonstrated that the length of stay in hospital of patients with metastatic spine was less than criteria as usual care. Also, quality as perceived by nurse after using a case management model for patients with palliative care was better than criteria as usual care. The level of statistical significance. 05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารพยาบาลทหารบกเป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมพยาบาลทหารบก ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลทหารบก
The ideas and opinions expressed in the Journal of The Royal Thai Army Nurses are those of the authors and not necessarily those
of the editor or Royal Thai Army Nurses Association.