การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติตามบทบาทหมอครอบครัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์ โรงพยาบาลไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, หมอครอบครัว, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานตามบทบาทหมอครอบครัวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งการศึกษา 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 274 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ t–test, one–way ANOVA ไคสแคว์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 15 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 3 ทดลองใช้ ปรับปรุงและประเมินโปรแกรม ประชากรเป้าหมายเป็น อสม. ที่ต้องการพัฒนาสมรรถนะ 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ paired t–test ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนสมรรถนะ ผ่านเกณฑ์ทุกคน มีแรงจูงในการปฏิบัติงานในระดับสูง มีการปฏิบัติตามบทบาทหมอครอบครัวในระดับปานกลาง และพบค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะ แรงจูงใจและการปฏิบัติตามบทบาทหมอครอบครัวเพิ่มขึ้น และสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติตามบทบาทหมอครอบครัว คือ (1) พัฒนาศักยภาพการใช้แอปพลิเคชั่น (2) สร้างสัมพันธภาพและเสริมสร้างกำลังใจ (3) สนับสนุนวัสดุ–อุปกรณ์/คู่มือการปฏิบัติงาน มีข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาคือ การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ อสม. และควรพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาศักยภาพ อสม.

References

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ทีมหมอครอบครัว: ประชาชนอุ่นใจมีญาติทั่วไปเป็นทีมหมอครอบครัว. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 8 อุดรธานี. การสาธารณสุขมูลฐาน. [อินเทอร์เน็ต] 2559. [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566] เข้าถึงจาก: http://do8.hss.moph.go.th/do8/images/upload/knowled/570813_4decade_ph’c.pdf

ชนิดา เตชะปัน. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชนในเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.

วุฒิศักดิ์ บุญเฉลิม. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก; 2555.

เทื้อน ทองแก้ว. สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2562.

สิริภักตร์ ศิริโท, วราภรณ์ มะลิวัลย์. การประเมินสมรรถนะบุคลากรสำนักทะเบียนและ

ประมวลผล กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสาร

บริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร 2556; 10(2):41–60.

มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย

[อินเทอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566] เข้าถึงได้จาก: http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf

โพธิ์ศรี แก้วศรีงาม. ระบบการดูแลระยะยาวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2564;11(2):306-31.

กศิณ์นันท์ น้อยหมอ. แรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต] 2563. [เข้าถึงเมื่อ 13 ก.พ. 2566] เข้าถึงจาก: http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-5-14_1599648380.pdf

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, ยุคนธ์ เมืองช้าง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561; 29:60–70.

ธิชาภรณ์ กำนันตน, โชติ บดีรัฐ. การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารพัฒนาการเรียนรู้ยุคใหม่ 2564; 6(3):237–49.

วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2564;4(2):63–75.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด–19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2564; 1(2):75–90.

อรธิรา พลจร. สมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2563.

ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คณีพงษ์, วรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31(1):16–28.

ภวรัญชน์อร ทิพย์เพชร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

ภูรีนุช เจริญสรรพ์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการปฏิบัติงานทีมหมอครอบครัว จังหวัดจันทบุรี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20; วันที่ 15 มีนาคม 2562; ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

ศิวพร สุนทรีวงศ์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์ จันทรโมลี, มยุนา ศรีสุภนันต์. การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลการสาธารณสุขภาคใต้ 2562;6(1):75–88.

นงนุช จิตตะเสโณ. อาสาสมัครกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต: กรณีศึกษาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

ชาญชัย จิวจินดา. รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ 2561; 6(2):1–9.

นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. รูปแบบการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย 2558;35(2):45–67.

เอกพงศ์ เกยงค์. การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;11(1):118–26.

สุพัตรา ศรีชุม. บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามการรับรู้และความคาดหวังของประชาชน ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31