วิเคราะห์การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพของศูนย์วิชาการ กรมอนามัย

Authors

  • ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์ ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี

Abstract

     ศูนย์วิชาการกรมอนามัย หรือศูนย์อนามัย(1) มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้เทคโนโลยี ระบบกลไกและมาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพให้แก่หน่วยงานในระดับพื้นที่รับผิดชอบทั้งภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน ตลอดจนให้การสนับสนุนสร้างความเข้มแข็ง ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ศูนย์อนามัยมีหน้าที่สนับสนุนวิชาการแก่ภาคี ติดตามความก้าวหน้าของงานเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อปรับปรุงรูปแบบการทำงานและวิธีการทำงาน นิเทศร่วมกับทีมตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องมีข้อมูล ตัวเลขต่างๆ จากพื้นที่ โรงพยาบาลทุกระดับ และจังหวัด ข้อมูล (Data) จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554(2)
หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณซึ่งข้อเท็จจริงหมายถึงข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง จะเห็นว่าข้อเท็จจริงอาจเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สำคัญ จะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง ตัวอย่างของข้อมูล เช่น น้ำหนักทารกแรกเกิด ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น ข้อมูลอาจเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ และข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ ดังนั้นข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือตัวเลขถ้าข้อมูลที่นำไปประมวลผลเป็นข้อมูลที่ด้อยคุณภาพ ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ย่อมด้อยคุณภาพไปด้วย

References

1. กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 98 ก. 2552:95.
2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ 2556.
3. Audit Commission. First published in March 2007 by the Audit Commission for local authorities and the National Health Service in England, 1st Floor, Mill bank Tower, Mill
bank, London SW1P 4HQ;2007.
4. Richard A. Johnson. Statistics: Principles and Methods. 6th ed. New Jersey: John Wiley & Sons;2010.
5. Dawson B, Trapp RG. Basic and clinical biostatistics. 4th ed. NewDelhi : McGraw-Hill Medical/Jaypee Brothers Medical Publishers;2004.
6. เดือนเพ็ญ ศิลปอนันต์. ทำไมจึงมาฝากครรภ์ : ทัศนะของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557;4(2):125-34.
7. Mahavarkar SH, Madhu CK, Mule VD. A comparative study of teenage pregnancy. J Obstet Gynecol 2008;28(6):604-07.
8. Chen XK, Wen SW, Fleming N, Demissie K, Rhoads GG & Walker M. Teenage pregnancy and adverse birth outcomes: A large population based retrospective cohort study. Int J Epidemiol 2007;36(2):368-73.
9. Suwannobol N, Chobkhayan S. Outcomes of Teenage Mothers Dankhunthot Hospital, Nakhon Ratchasima. J Med Assoc Thai 2006;89:145-51.
10. Nour NM. An Introduction to Maternal Mortality. Rev Obstet Gynecol 2008;1(2):77-81.
11. เตือนใจ แสร์สินธุ์, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน. พุทธชินราชเวชสาร 2557;31(2):174-82.
12. ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี. เอกสารสรุปนำเสนอการตรวจราชการเขตบริการสุขภาพที่ 4, ในการประชุมสรุปผลการตรวจราชการรอบ 2/2557.

Downloads

Published

2019-01-02

How to Cite

1.
ประสิทธิเมตต์ ถ. วิเคราะห์การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพของศูนย์วิชาการ กรมอนามัย. JPMAT [Internet]. 2019 Jan. 2 [cited 2024 Nov. 8];5(1):79-87. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/164437

Issue

Section

Special Article