การใช้ A3 Problem Solving ลดการระบาดโรคไข้เลือดออกของ ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา

Authors

  • สุกิจ ทิพทิพากร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา

Abstract

     เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอปง โรงพยาบาลปง จังหวัดพะเยา ได้นำการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการ A3 Problem solving (1) เพื่อมาพัฒนางานรวมทั้งการแก้ปัญหาทางระบาดวิทยา ซึ่งทำให้การหมุนวงจร PDCA (Plan Do Check Act) ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเป็นอย่างดี แนวคิดนี้เป็นของบริษัทโตโยต้า (2) ซึ่งได้นำมาใช้พัฒนาองค์กรมานานกว่าสามสิบปีพัฒนาและแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตรถยนต์ ให้มีคุณภาพสูงในต้นทุนที่ต่ำสุดเสร็จตามเวลา โดยกระตุ้นให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาปรากฏออกมา เพื่อให้บุคลากรที่ทำงานแก้ไขที่สาเหตุรากเหง้าได้ และทำกระบวนการนั้นให้แข็งแกร่งขึ้น การสร้างกระบวนการให้แข็งแกร่งมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วทั้งองค์กร ทำให้องค์กรปรับปรุงดีขึ้นทีละน้อย ทุกๆ วันเป็นเวลาหลายทศวรรษบริษัทโตโยต้ามีเสาหลักสองต้นคือ (3) เคารพความเป็นมนุษย์ (Respect for People) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ในการแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่องรายงาน A3 คือ วิธีรายงานผลลัพธ์ของ PDCA ซึ่งต้องเสนอบนกระดาษแผ่นเดียว A3 เป็นวิธีคิดมากกว่าวิธีการเขียนรายงาน ช่วยในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและคงเส้นคงวา เข้าใจง่ายและยังใช้ติดตามงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

References

1. Durward K Sobek, Art Smalley. Understanding A3 Thinking: A Critical Component of Toyota’s PDCA Management System. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง, ไรย์วินท์ บุญสวัสดิ์, อัฑฒ์ สุนทรโรหิต. PDCA แบบ Toyota ด้วยการคิดแบบ A3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์พับลิชชิ่ง; 2011.
2. Jeffrey K. Liker. Toyota Way. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง. วิถีแห่งโตโยต้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์พับลิชชิ่ง; 2548.
3. Jeffrey K. Liker, Michael Hoseus, Toyota Culture. แปลโดย ศรชัย จาติกวานิช. วัฒนธรรมโตโยต้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แมคกรอฮิล; 2552.
4. Taiichi Ohno. Taiichi Ohno’s Workplace Management. แปลและเรียบเรียงโดย บุญเสริม วันทนาศุภมาต, ภวัต ปุณยพัฒน์. สุดยอดลีนของโอโน. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี : ไอลีนคอนซัลติ้งเอเชีย; 2558.
5. Masaki Hibeake. Visualization. แปลโดย ประยูร เชี่ยววัฒนา. เปลี่ยนความสูญเปล่าเป็นกำไรด้วย Visualization. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2554.
6. Thomas L. Jakson. Hoshin Kanri for the Lean Enterprise: Developing Competitive Capabilities and Managing Profi. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง, ไรย์วินท์ บุญสวัสดิ์, ยุพา กลอนกลาง. Hoshin Kanri แปรนโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับวิสาหกิจแบบลีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพลส; 2553.
7. Kenichi Sekine, Keisuke Arai. TPM for the Lean Factory : Innovative Methods and Worksheets for Equipment. แปลโดย ธานี อ่อมอ้อ. TPM สำหรับโรงงานแบบลีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์พับลิชชิ่ง; 2553.
8. Rowland Harier, Michael Nichol. What is Six Sigma Process Management? แปลโดย ไพโรจน์ บาล์น. การจัดการกระบวนการตามหลัก Six Sigma. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง; 2549.
9. David Mann. Creating a lean culture tools to sustain lean conversions. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง, อธิศานต์ วายุภาพ, ยุพา กลอนกลาง. จากวัฒนธรรมแบบโตโยต้า สู่วัฒนธรรมลีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์พับลิชชิ่ง; 2551.
10. Jeffrey K. Liker, David Meier. The Toyota Way Field book. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง, ยุพา กลอนกลาง. แกะรอยวิถีโตโยต้าคู่มือภาคสนาม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์พับลิชชิ่ง;2551.
11. Jeffrey K. Liker, David Meier. Toyota Talent. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง, กชมล ศรีวงศ์. เก่งแบบโตโยต้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์พับลิชชิ่ง;2551.
12. M.S.Krishnan, C.K. Prahalad. The New Age of Innovation. แปลโดย นิสิต มโนตั้งวรพันธุ์. โลกใหม่แห่งนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: McGraw Hill; 2552.

Downloads

Published

2018-10-22

How to Cite

1.
ทิพทิพากร ส. การใช้ A3 Problem Solving ลดการระบาดโรคไข้เลือดออกของ ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา. JPMAT [Internet]. 2018 Oct. 22 [cited 2024 Apr. 25];6(2):192-7. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/151544

Issue

Section

Review Article