บทความพิเศษ โรคติดเชื้อไวรัสซิกาและสถานการณ์โรคในจังหวัดนนทบุรี

Authors

  • วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรี

Abstract

     โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease)เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งอยู่ตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสไข้เหลืองไวรัสเด็งกี่ ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โรคติดเชื้อไวรัสซิกามียุงลาย (เช่น Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค(1,2) โดยมีการค้นพบเชื้อนี้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) จากน้ำเหลืองของลิง Rhesus ที่ป่าชื่อซิกา สาธารณรัฐยูกันดา(1)สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด หลังโดนยุงกัดเชื้อไวรัสซิกาจะมีระยะฟักตัวในคนเฉลี่ย 4-7 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน ยาวที่สุด 12 วัน)
และในยุง 10 วัน(1)ผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80)อาการจะไม่รุนแรงนัก โดยจะมีอาการคล้ายคลึงกับโรคในกลุ่มที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค เช่นเดียว กับผู้ป่วยไข้เด็งกี่ กล่าวคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นแดงแบบ maculopapular ตามลำตัว แขน และขา ตาแดง บริเวณดวงตามีอาการอักเสบของเยื่อบุตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตและอุจจาระร่วง ส่วนน้อยอาจ มีอาการเส้นประสาทอักเสบ (Guillain-Barre Syndrome-GBS) หรือความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ(1)ทั้งนี้สาเหตุหลักของการติดเชื้อไวรัสซิกาคือการโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา (ซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการ) อาจแพร่เชื้อสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมากที่แตกต่างจากการติดเชื้อเด็งกี่คือหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาอาจส่งผ่านไวรัสไปสู่ทารกในครรภ์ อาจส่งผลให้ทารกคลอดออก มาแล้วมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด (microcephaly)(1,2) หรือมีภาวะแทรกซ้อนด้านระบบประสาท ระบบการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวอาจตามมาในภายหลัง ไวรัสซิกายังสามารถติดต่อทางช่องทางอื่นๆ ได้แก่ การแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์ การแพร่เชื้อผ่านการบริจาคเลือด เป็นต้น

References

1. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. คณะกรรมการกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และวิชาการกรณีโรคติดเชื้อไวรัสซิกา. ยุทธศาสตร์และมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560). เข้าถึงได้จาก: https://www.bmadcd.go.th/Website%20bmadcd/home/documents/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8CZika_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%9A%201.pdf
2. THAITIMO. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559) เข้าถึงได้จาก: https://thaitimo.com/index.php/th/health-club/knowledge/item/63-zika-virus.
3. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของประเทศไทย. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559). เข้าถึงจาก:https://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/Situation_Zika_100259.pdf
4. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ (2005) เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกาและการสังเกตการณ์เพิ่มขึ้นของอาการ ความผิดปกติในระบบประสาทและความผิดปกติในทารกแรกเกิด ครั้งที่ 1. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559). เข้าถึงได้จาก:https://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/node/2062
5. World Health Organization. WHO statement on the first meeting of the International Health Regulations (2005) (IHR 2005) Emergency Committee on Zika virus and observed increase in neurological disorders and neonatal malformations. [cited 2016 Feb 2]. Available from: https://www.who.int/mediacentre/news/statements/2016/1st-emergency-committee-zika/en/
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. รายงานผู้ป่วยโรค Zika virus infection สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส Zika จังหวัดนนทบุรี 2 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559. นนทบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. 2560

Downloads

Published

2018-06-18

How to Cite

1.
พรพัฒน์กุล ว. บทความพิเศษ โรคติดเชื้อไวรัสซิกาและสถานการณ์โรคในจังหวัดนนทบุรี. JPMAT [Internet]. 2018 Jun. 18 [cited 2024 Dec. 27];7(2):244-50. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/129048