ประสิทธิผลแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

จักรกริช ไชยทองศรี
อาทิตยา บุตรแสง
เจษฎา สุราวรรณ์
ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น


วิธีศึกษา การวิจัยแบบกึ่งทดลอง รูปแบบ Pretest Posttest Design เก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 31 ธันวาคม 2563 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงการฆ่าตัวตายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน เครือข่ายบริการสุขภาพ   ซำสูง ครอบครัวกลุ่มเสี่ยงการฆ่าตัวตายและครอบครัวบัดดี้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันการฆ่าตัวตาย และการส่งต่อผู้ป่วย 3) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2 Q) 9 คำถาม (9 Q) และแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัยชุดที่ 1 และ 2 ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.92 คำนวณค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สถิติ Cronbach’s alpha เท่ากับ 0.863 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test และสถิติ Independent sample t-test         


ผลการศึกษา เครือข่ายบริการสุขภาพซำสูง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   ที่ระดับ .05 (p-value .000) ครอบครัวกลุ่มเสี่ยงการฆ่าตัวตายและครอบครัวบัดดี้ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย และการส่งต่อผู้ป่วย หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   ที่ระดับ .05 (p-value .000, .002 และ .000 ตามลำดับ) กลุ่มเสี่ยงการฆ่าตัวตาย กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการคัดกรองโรคซึมเศร้าแบบ 9 คำถาม (9 Q) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value .000)


สรุป  การให้ความรู้และทักษะการเฝ้าระวัง ป้องกันการฆ่าตัวตาย และการส่งต่อผู้ป่วยแก่ชุมชน และครอบครัว ร่วมกับการจัดกิจกรรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตให้กับกลุ่มเสี่ยงการฆ่าตัวตาย ช่วยภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายได้อย่างมีประสิทธิผล

Article Details

How to Cite
ไชยทองศรี จ., บุตรแสง อ. ., สุราวรรณ์ เ. ., & ล้อพงค์พานิชย์ ป. . (2022). ประสิทธิผลแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 67(1), 59–70. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPAT/article/view/250391
บท
Original Articles

References

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. World Health Statistics 2019: Monitoring health for the SDGs. Geneva: World Health Organization; 2019.

National suicide prevention center. Success rate of suicide per 100,000 populations [Internet]. 2021. Available from: https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

National suicide prevention center. Suicide rate Khon Kaen Province during the year 2017 - 2019 [Internet]. 2021. Available from: https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/s_stat.

Klonsky ED, May AM. The Three-Step Theory (3ST): A New Theory of Suicide Rooted in the “Ideation-to-Action” Framework. Int J Cogn Ther. 2015;8(2):114–29.

Choochom O. Quasi – Experimental Research. The Journal of Behavioral Science. 2009;15(1):1–15.

Sukamonson S. Effect size: Practical significance in research. Pasaa Paritat Journal. 2010; 25:26–37.

Thonghima T, Moolsart S and Thomyangkoon P. The Effectiveness of a Suicide Prevention Program in Elderly with Depression in a Community. Journal of Nursing, Public Health, and Education. 2019;20(2):105–18.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences [Internet]. second. New York: Lawrence Erlbaum; 1988 [cited 2018 Nov 4]. Available from: http://www.utstat.toronto.edu/~brunner/oldclass/378f16/readings/CohenPower.pdf

Pasunon P. Sample Size Determination from Krejcie and Morgan (1970) Approach in Quantitative Research. The Journal of Faculty of Applied Arts. 2014;7(2):112–25.

Penglia Y, Tippunya S, Puksorn K, Likasitdamrongkul W, Thanee S, and Luprasong S. Application of community participatory programs for suicide prevention: a case study at Jarim sub-district, Tha-Pla district, Uttaradit province. Journal of Mental Health of Thailand. 2018;26(3):186–96.

Junsam S, Thongkhamrod R, and Sarakan K. The Development of a Community Participatory Model in Preventing Suicide of Yasothon Province. In: The 8th STOU National Research Conference Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi; 2018. p. 405–12.

Allen J, Mohatt G, Ching C, Fok T, Henry D. International Journal of Circumpolar Health Suicide prevention as a community development process: understanding circumpolar youth suicide prevention through community level outcomes. Circumpolar Heal [Internet]. 2009 [cited 2021 Jun 23]; 68:274–91. Available from: https://www.tandfonline.com/action/journalInformation?journalCode=zich20

Piyaphan Y, and Samad W. Epidemiology of Suicide in Phuket in Fiscal Year 2007. North-Eastern Primary Health Care Journal. 2008;22(6):135–40.

Aiamsaart N, and Thaweeses P. Epidemiology Study of Suicidal Attempt and Completed Suicide Patients at Phra Phutthabat Hospital. Department of health Service Support Journal. 2020;16(3):23–30.

Charoensri H, and Khiewyoo J. Suicidal Risk Prevalence and Factors Related to Suicidal Risk Among People in Ban Tak District, Tak Province. KKU research journal (Graduate study). 2560;17(3):77–93.

Wright PP, Thorpe CW. Triple Threat Among the Elderly: Depression, Suicide Risk, and Handguns. J Emerg Nurs. 2016;42(1):14–8.

Chidmongkol R, Mueannadon R, Kaewma S, and Riabporn V. Depression and Mental Health Literacy in Adolescents. Journal of Nursing, Public Health, and Education. 2020;21(2):40–7.