การทำนายขนาดยาทาโครลิมัส ที่ใช้ในช่วงระหว่างการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในประชากรไทย

Main Article Content

อริศรา ฤกษ์ฉวี
ณัฐวุฒิ โตวนำชัย

บทคัดย่อ

บทนำ: ยาทาโครลิมัส (Tacrolimus; TAC) จัดเป็นยากดภูมิที่เป็นรากฐานสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การที่ยาทาโครลิมัสบรรลุเป้าหมายสู่ระดับยาที่กำหนดโดยเร็วที่สุดถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับยาในช่วงระยะแรกหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่การมีระดับยาต่ำหรือสูงเกินไป อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาสมการสำหรับหาขนาดยาทาโครลิมัสที่บรรลุเป้าหมายในช่วงวันที่ 3-5 หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งจัดเป็นระยะที่ต้องการระดับของการกดภูมิที่เหมาะสมมากที่สุด


แบบแผนการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังจัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทุกรายที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปี พ.ศ. 2558-2563 แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้พัฒนาสมการคือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตในปี พ.ศ. 2558-2561 และกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของสมการ คือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตในปี พ.ศ. 2562-2563 คำนวณเพื่อหาสมการพยากรณ์ขนาดยา โดยจะถูกสร้างขึ้นตามฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียลจากความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเส้นตรงระหว่างขนาดยาทาโครลิมัสเป้าหมาย (มก./กก.) และระดับยาทาโครลิมัสที่ 12 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาครั้งแรก (TAC C12)


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 206 ราย เป็นกลุ่มสำหรับพัฒนาสมการ 140 ราย ลักษณะพื้นฐานของกลุ่มพัฒนาสมการ มีผู้รับไตบริจาคจากผู้เสียชีวิต 99 ราย ปริมาณเฉลี่ยของยาทาโครลิมัสที่ใช้ในวันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายไตของกลุ่มพัฒนาคือ 5.8 ± 1.9 มก./วัน ซึ่งใกล้เคียงกับในกลุ่มตรวจสอบคือ 5.8 ± 2.1 มก./วัน เราคำนวณหาขนาดยาทาโครลิมัสใน วันที่ 3-5 หลังการปลูกถ่ายเพื่อบรรลุระดับการรักษาที่ระดับยาเฉลี่ย 8.5 นาโนกรัม/มล. ได้เป็นสมการดังต่อไปนี้


Adjusted TAC dose at day 3-5 (mg/kg) = 0.2588691* TAC C12(-0.47730647) * Hemoglobin (-0.03101605)


ค่า R2 จากกลุ่มพัฒนาสมการคือ 0.3125 และจากกลุ่มตรวจสอบคือ 0.2929 ค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดสัมบูรณ์ (MAE) ของขนาดยาทาโครลิมัส คือ 0.0392191 มก./กก.


สรุปผลการวิจัย: สมการพยากรณ์ขนาดยาทาโครลิมัสที่ใช้ในช่วงการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่พัฒนาจากปัจจัยทางคลินิก สามารถเป็นแนวทางให้อายุรแพทย์โรคไตใช้เพื่อช่วยในการปรับขนาดยาทาโครลิมัสสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดยาที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา โดยลดทั้งความเป็นพิษจากยาทาโครลิมัส และลดอัตราการปฏิเสธไตได้

Article Details

How to Cite
ฤกษ์ฉวี อ., & โตวนำชัย ณ. (2022). การทำนายขนาดยาทาโครลิมัส ที่ใช้ในช่วงระหว่างการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในประชากรไทย. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, 28(2), 60–67. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNST/article/view/258806
บท
Original Article

References

Mehrabi A, Wiesel M, Zeier M, Kashfi A, Schemmer P, Kraus T, et al. Results of renal transplantation using kidneys harvested from living donors at the University of Heidelberg. Nephrol Dial Transplant 2004;19 Suppl 4:iv48-54.

Issa N, Kukla A, Ibrahim HN. Calcineurin inhibitor nephrotoxicity: a review and perspective of the evidence. Am J Nephrol 2013;37(6):602-12.

Borobia AM, Romero I, Jimenez C, Gil F, Ramirez E, De Gracia R, et al. Trough tacrolimus concentrations in the first week after kidney transplantation are related to acute rejection. Ther Drug Monit 2009;31(4):436-42.

Kramer BK, Del Castillo D, Margreiter R, Sperschneider H, Olbricht CJ, Ortuno J, et al. Efficacy and safety of tacrolimus compared with ciclosporin A in renal transplantation: three-year observational results. Nephrol Dial Transplant 2008;23(7):2386-92.

Webster AC, Woodroffe RC, Taylor RS, Chapman JR, Craig JC. Tacrolimus versus ciclosporin as primary immunosuppression for kidney transplant recipients: meta-analysis and meta-regression of randomized trial data. BMJ 2005;331(7520):810.

Yu M, Liu M, Zhang W, Ming Y. Pharmacokinetics, Pharmacodynamics and Pharmacogenetics of Tacrolimus in Kidney Transplantation. Curr Drug Metab 2018;19(6):513-22.

Shuker N, Shuker L, van Rosmalen J, Roodnat JI, Borra LC, Weimar W, et al. A high intrapatient variability in tacrolimus exposure is associated with poor long-term outcome of kidney transplantation. Transpl Int 2016;29(11):1158-67.

Kim IW, Moon YJ, Ji E, Kim KI, Han N, Kim SJ, et al. Clinical and genetic factors affecting tacrolimus trough levels and drug-related outcomes in Korean kidney transplant recipients. Eur J Clin Pharmacol 2012;68(5):657-69.

Kim IW, Noh H, Ji E, Han N, Hong SH, Ha J, et al. Identification of factors affecting tacrolimus level and 5-year clinical outcome in kidney transplant patients. Basic Clin Pharmacol Toxicol 2012;111(4): 217-23.

Chen L, Prasad GVR. CYP3A5 polymorphisms in renal transplant recipients: influence on tacrolimus treatment. Pharmgenomics Pers Med 2018;11:23-33.

Townamchai N, Chancharoenthana W, Vadcharavivad S, Chariyavilaskul P, Pongpirul K, Leelahavanichkul A, et al. A Simple Novel Technique to Estimate Tacrolimus Dosages During the Early Post Kidney Transplantation Period. Transplant Proc 2015;47(8):2433-8.

de Jonge H, de Loor H, Verbeke K, Vanrenterghem Y, Kuypers DR. In vivo CYP3A4 activity, CYP3A5 genotype, and hematocrit predict tacrolimus dose requirements and clearance in renal transplant patients. Clin Pharmacol Ther 2012;92(3):366-75.

Jacobson PA, Oetting WS, Brearley AM, Leduc R, Guan W, Schladt D, et al. Novel polymorphisms associated with tacrolimus trough concentrations: results from a multicenter kidney transplant consortium. Transplantation 2011;91(3):300-8.

Hesselink DA, van Schaik RH, van der Heiden IP, van der Werf M, Gregoor PJ, Lindemans J, et al. Genetic polymorphisms of the CYP3A4, CYP3A5, and MDR-1 genes and pharmacokinetics of the calcineurin inhibitors cyclosporine and tacrolimus. Clin Pharmacol Ther 2003;74(3):245-54.

Tsuchiya N, Satoh S, Tada H, Li Z, Ohyama C, Sato K, et al. Influence of CYP3A5 and MDR1 (ABCB1) polymorphisms on the pharmacokinetics of tacrolimus in renal transplant recipients. Transplantation 2004;78(8):1182-7.