การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มนมกล้วยเสริมเปลือกกล้วยผง จากเปลือกกล้วยหอมทอง (Musa acuminata) ตกมาตรฐาน

ผู้แต่ง

  • พัชณิยา เอกเพชร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสุขภาพและความงาม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

กล้วยหอมทองตกมาตรฐาน, เปลือกกล้วย, เปลือกกล้วยผง, เครื่องดื่มนมกล้วย

บทคัดย่อ

กล้วยจัดเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งของอาเซียน ปัจจุบันกล้วยหอมทองของประเทศไทยทำตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเนื่องจากการผลิตพืชเพื่อการส่งออก ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพจะถูกเลือกไป ทิ้งผลผลิตที่ไม่ได้ตามมาตรฐานส่งออก การนำกล้วยตกมาตรฐานไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จะมีเศษที่เหลือใช้ เช่น เปลือก ทิ้งเป็นขยะซึ่งเป็นปัญหากับเกษตรกรผู้ผลิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากกล้วยและสิ่งเหลือใช้ของกล้วยเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะแปรรูปอย่างง่ายที่เกษตรกรทำได้เองหรือในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณเปลือกกล้วยหอมทองตกมาตรฐานในผลิตภัณฑ์นมกล้วย โดยศึกษาอัตราส่วนของเนื้อกล้วย นมผง และน้ำ (กรัมต่อ 100 กรัม) โดยใช้โปรแกรม Experimental Design ในการออกแบบชุดการทดลองเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis : PCA) ด้วยเทคนิคหลายตัวแปรในการสรุปเชิงเส้น จากนั้นนำสูตรส่วนประกอบที่ดีที่สุดมาพัฒนาผลิตภัณฑ์นมกล้วยเสริมเปลือกกล้วยผงสามระดับ คือ 0, 0.25 และ 0.5 กรัมต่อ 100 กรัม ผลการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคด้วยวิธี 9-point hedonic test โดยใช้ผู้ทดสอบที่ผ่านการฝึกฝนจำนวน 10 คน พบว่าผลิตภัณฑ์นมกล้วยที่มีการเติมผงเปลือกกล้วยหอมทองตกมาตรฐาน 0.5 กรัมต่อ 100 กรัม (เนื้อกล้วย นมผง น้ำ และเปลือกกล้วยผง เท่ากับ 12.19, 29.35, 57.96 และ 0.5 กรัมต่อ 100 กรัม)  ได้รับความชอบโดยรวมในระดับ 8 คือ ชอบมาก ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมผงเปลือกกล้วยหอมทองตกมาตรฐาน 0.25 กรัมต่อ 100 กรัม (เนื้อกล้วย นมผง น้ำ และเปลือกกล้วยผง เท่ากับ 12.22, 29.43, 58.1 และ 0.25 กรัมต่อ 100 กรัม) มีความชอบของสีในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองอื่น   โดยสรุปผลิตภัณฑ์นมกล้วยเสริมใยอาหารสูตรที่ได้รับการคัดเลือก มีเปลือกกล้วยผง 0.5 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งเมื่อรับประทาน 1 หน่วยบริโภค (1 กล่อง 150 กรัม) จะได้รับปริมาณใยอาหารเท่ากับ 0.75 กรัม คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน

References

Reddy N, Yang Y. Biofibers from agricultural byproducts. Trends Biotechnol 2005;23:22-7.

Xue L, Liu G, Parfitt J, Liu X, Herpem EV, Stenmarck A, Cheng S. Missing food, missing data? A critical review. Environ Sci Technol 2017;51:6618-33.

Food and Agriculture Organization. Food Wastage Footprint: Impacts on Nutritional Resource. Rome: Food and Agriculture Organization; 2013.

Vu HT, Scarlett CJ, Voung QV. Phenolic compounds within banana peel and their potential uses: A review. J Funct Foods 2018;40:238-48.

Padam BS, Tin HS, Chye FY, Abdullah, MI. Banana by-products: an under-utilized renewable food biomass with great potential. J Food Sci Technol 2014;51:3527-45.

Wachirasiri P, Julakarangka S, Wanlapa S. The effects of banana peel preparations on the properties of banana peel dietary fibre concentrate. Songklanakarin J Sci Tech 2009;31:605-11.

Pyar H, Peh KK. Chemical Compositions of Banana Peels (Musa sapientum) Fruit cultivated in Malaysia using proximate analysis. Res J Chem Environ 2018;22:108-13.

ปิยนุสร์ น้อยด้วง, ปัทมา คล้ายจันทร์. การผลิตโยเกิร์ตกล้วยหอม. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม 2547;1:27-31.

กฤติยา เขื่อนเพชร, เปี่ยมสุข สุวรรณกูฏ, รวิพร พลพืช, รวิภา จารุอารยนันท์. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกล้วยหอมทองผงเพื่อสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2018;27:1024-37.

Rodrıguez R, Ana J, Juan FB. Dietary fibre from vegetable products as source of functional ingredients. Trends Food Sci Technol 2006;17:3–15.

สำนักอาหาร. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลดในภานชนะบรรจุที่ปิดสนิท. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2548.

Larrauri JA, Rupérez P, Borroto B, Saura-Calixto F. Mango peels as a new tropical fiber: preparation and characterization. Lebensm Wiss Technol 1966;29:729-33.

Chantaro P, Devahastin S, Chiewchan N. Production of antioxidant high dietary fiber powder from carrot peel, LWT-Food Sci Technol 2008;41:1987-94.

Figuerola F, Hurtado ML, Estévez AM, Chiffelle I, Asenjo F. Fibre concentrates from apple pomace and citrus peel as potential fiber sources for food enrichment. Food Chem 2005;9:395-401.

Wuttipalakorn P, Srichumpuang W, Chiewchan N. Effects of pretreatment and drying on composition and bitterness of high dietary fiber powder from lime residues. Dry Technol 2009;27:133-42.

Tanongkankit Y, Chiewchan N, Devahastin S. Effects of processing on antioxidants and their activity in dietary fiber powder from cabbage outer leaves. Dry Technol 2010;28:1063-71.

Kader AA. Postharvest Technology of Horticultural Crops. 5th ed. California: The University of California Agricultural and Natural Resources; 2011.

ศศิภา เต็กอวยพร. การพัฒนาระบบวิเคราะห์เชิงภาพถ่ายเพื่อตรวจตดิตามคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาลัยศิลปากร; 2554.

Association of Official Agriculture Chemists. Official Methods of Analysis of AOAC International. Maryland: AOAC International; 2023, Method number 985.29, 991.43, and 991.43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/16/2024

How to Cite

เอกเพชร พ. (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มนมกล้วยเสริมเปลือกกล้วยผง จากเปลือกกล้วยหอมทอง (Musa acuminata) ตกมาตรฐาน. วารสารโภชนาการ (Online), 59(1), 1–12. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAT/article/view/267357