การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคอาหารของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ลักษณา ไชยมงคล สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย
  • อนิรุต เกปัน โรงพยาบาลปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี
  • ฮัสมา กาโน โรงพยาบาลปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี

คำสำคัญ:

เครื่องมือประเมินอาหาร, โปรตีน, พลังงาน, โรงพยาบาลปัตตานี

บทคัดย่อ

ปัญหาทุพโภชนาการในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นปัญหาที่พบบ่อยในทุกโรงพยาบาล  โดยภาวะทุพโภชนาการเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ การได้รับอาหารไม่เพียงพอ และการที่ผู้ป่วยมีโรคเรื้อรังทำให้ร่างกายมีความต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการติดตามพลังงานจากการบริโภคอาหารต่อวันของผู้ป่วยเป็นวิธีการที่จะทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยได้รับอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่   ปัจจุบันโรงพยาบาลปัตตานียังไม่มีเครื่องมือในการติดตามพลังงานจากการบริโภคอาหารของผู้ป่วย  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามพลังงานและโปรตีนจากการบริโภคอาหารของผู้ป่วย และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องมืออย่างง่ายที่พัฒนาขึ้นในการประเมินพลังงานและโปรตีนที่ได้รับโดยเทียบกับเครื่องมือมาตรฐาน   กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยอายุระหว่าง 18 – 64 ปี ที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยพิเศษโรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 30 ราย ข้อมูลการรับประทานอาหารของผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมงจะเก็บรวบรวมโดยวิธีการชั่งน้ำหนักสำหรับอาหารที่โรงพยาบาลจัดเสิร์ฟ ส่วนอาหารที่ผู้ป่วยนำมาเองจะใช้วิธีการจดบันทึกอาหารโดยการประมาณ และในเย็นวันเดียวกันผู้วิจัยจะสอบถามข้อมูลการบริโภคใน 24 ชั่วโมงจากผู้ป่วย โดยใช้เครื่องมือประเมินอาหารที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ปริมาณพลังงาน โปรตีนที่ได้รับจากการบริโภคของข้อมูลจากการประเมินด้วยวิธีมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrient v. 2 ส่วนข้อมูลอาหารที่ได้จากการประเมินด้วยเครื่องมืออย่างง่ายวิเคราะห์พลังงานและโปรตีนโดยใช้ รายการอาหารแลกเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ประเมินด้วยเครื่องมืออย่างง่ายที่พัฒนาขึ้น เทียบกับเครื่องมือมาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณพลังงานที่ได้จากการประเมินทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความสัมพันธ์ 0.957 (p<0.05) ปริมาณโปรตีนที่ได้จากการประเมินทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความสัมพันธ์ 0.830 (p<0.05)  ผลการประเมินความสอดคล้องของทั้งสองวิธีในการจำแนกกลุ่มตามระดับปริมาณพลังงานที่ได้รับพบว่าค่าสัมประสิทธิ์แคปปาของพลังงานและโปรตีนมีค่า 0.644 (p<0.05), 0.333 (p<0.05) ตามลำดับจึงสรุปได้ว่า เครื่องมืออย่างง่ายที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพในการประเมินพลังงานและโปรตีนที่ได้รับจากการบริโภคอาหารของผู้ป่วยในโรงพยาบาลปัตตานี

References

Hiesmayr M, Schindler K, Pernicka E, Schuh C, Schoeniger-Hekele A, Bauer P, Schuetz T. Decreased food intake is a risk factor for mortality in hospitalized patients. The Nutrition Day Survey. 2006; 28(5):484-491.

Alliance to Advance Patient Nutrition. 2014. The problem in Malnutrition. 2014 [Cited 2018 May 8]. Access from: http://static.abbottnutrition.com/cms-prod/malnutrition.com/img/Alliance_Brochure_2014_v2.pdf

Budiningsari D, Shahar S, Manaf Z, Susetyowati S. A simple dietary assessment tool to monitor food intake of hospitalized adult patients. J Multidiscip Health. 2016; 9:311-322.

สมาคมนักกำหนดอาหารไทย. รายการอาหารแลกเปลี่ยนไทย. ใน: กินตามวัยให้พอดี. นนทบุรี: กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข; มปป. หน้า 76-86.

สถาบันโภชนาการ. โปรแกรม INMUCAL-Nutrients V2. นครปฐม: สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Matsuzaki E, Michile M, Kawabata T. Validity of Nutrient Intakes Derived from an Internet Website Dish-Based Dietary Record for Self-Management of Weight among Japanese Women. Nutrients. 2017; 9:1-13.

Crewson PE. Reader agreement studies. Am J Roentgenol. 2005; 184:1391-1397.

Masson LF, McNeill G, Tomany JO, Simpson JA, Peace HS, Wei L, et al. Statistical approaches for assessing the relative validity of a food frequency questionnaire: use of correlation coefficients and the kappa statistic. Public Health Nutr. 2003; 6:313-321.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/18/2019