ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่มีโพแทสเซียมและปริมาณโพแทสเซียมในเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • โสภา เอกวิโรจน์สกุล กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, โพแทสเซียมในอาหาร, โพแทสเซียมในเลือด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมและปริมาณโพแทสเซียมในเลือด ประชากรเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน 27 คนรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั่วไปแบบบันทึกอาหาร 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน โดยมีวันที่ฟอกเลือดและไม่ฟอกเลือดนำมาคำนวณปริมาณโพแทสเซียมในอาหารโดยใช้โปรแกรม INMUCAL- V.3 และรายการอาหารอาหารแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผลการตรวจค่าชีวเคมีที่ใช้ในการติดตามภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงการแจกแจงความถี่และร้อยละค่าเฉลี่ย ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณโพแทสเซียมที่คำนวณจากโปรแกรม INMUCAL-Nutrients V.3 กับการใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยนโรคไตเรื้อรังด้วย Paired-Samples T Test ผลการศึกษาพบว่าประชากรเป็นเพศหญิง 63 % ส่วนใหญ่อายุ 60 ปีขึ้นไปได้รับพลังงานจากอาหารที่บริโภคเฉลี่ย 1028.74+263.03 กิโลแคลอรีต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 64.16 ของคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยฟอกเลือดโปรตีนเฉลี่ย 39.26+12.6 กรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 54.61 โพแทสเซียมที่บริโภคเฉลี่ย 926.89+290.36 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่แนะนำระดับโพแทสเซียมในเลือดเฉลี่ย 4.82 มิลลิโมลต่อลิตร ส่วนใหญ่มีโรคร่วมคือความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปริมาณโพแทสเซียมในอาหารที่คำนวณโดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrients V.3 และรายการอาหารแลกเปลี่ยนโรคไตเรื้อรังมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( r = .405) และ 0.01 (r = .506) ตามลำดับ ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ลดโซเดียมที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมคลอไรด์ ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนเพียงพอ

References

1. ชนิดา ปโชติการ, สุนาฏ เตชางาม. โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่รับการฟอกเลือดและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร. Practical Dialysis. กรุงเทพมหานคร: วิวัฒน์การพิมพ์; 2545.

2. ประเสริฐ ธนกิจจารุ. ปัญหาทางโภชนาการในผู้ป่วย hemodyalysis. ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, อุษณา ลุวีระ, วลัย อินทรัมพรรย์, ยุพาพิน จุลโมกข์, บรรณาธิการ. ตำราโภชนบำบัดและโรคไต. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์; 2540.

3. Noori N, Kalantar-Zadeh K, Kovesdy CP, Murali SB, Bross R, Nissenson AR, et al. Dietary Potassium intake and Mortality in Long-term Hemodialysis. Am J Kidney Dis. 2010;56(2):338-47.

4. วลัย อินทรัมพรรย์. ความรู้พื้นฐานทางโภชนาการ. ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, อุษณา ลุวีระ, วลัย อินทรัมพรรย์, ยุพาพิน จุลโมกข์, บรรณาธิการ. ตำราโภชนบำบัดและโรคไต. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์; 2540.

5. อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์. Nutrition management in maintenance hemodialysis patient. การประชุมวิชาการ Dialysis Review for Nurses 2013; 18-20 มกราคม 2556; โรงแรมปรินซ์ พาเลส โบเบ้ทาวเว่อร์. กรุงเทพฯ: สมาคมพยาบาลโรคไต; 2556.

6. ชนิดา ปโชติการ, กัลยา กาลสัมฤทธิ์. Nutrition workshop. ประชุมวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี สาขาวิชาโรคไต โรงพยาบาลศิริราช 2010.

7. ปราณี ผ่องแผ้ว, รังสรรค์ ตั้งตรงจิตร. การประเมินอาหารที่บริโภค. ใน: วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, บรรณาธิการ. การจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย; 2557. หน้า 66.

8. อิษณี พุทธิมนตรี. Common Pitfall in Hemodialysis Nursing Care. การประชุมวิชาการ Dialysis Review for Nurses 2013; 18-20 มกราคม 2556; โรงแรมปรินซ์ พาเลส โบเบ้ทาวเว่อร์. กรุงเทพฯ: สมาคมพยาบาลโรคไต; 2556.

9. สุรัตน์ โคมินทร์, วลัย อันทรัมพรรย์. การให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตวายที่ได้รับการรักษาทดแทนไต. ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, อุษณา ลุวีระ, วลัย อินทรัมพรรย์, ยุพาพิน จุลโมกข์, บรรณาธิการ. ตำราโภชนบำบัดและโรคไต. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์; 2540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/28/2016

How to Cite

เอกวิโรจน์สกุล โ., & อุทัยพัฒนาชีพ อ. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่มีโพแทสเซียมและปริมาณโพแทสเซียมในเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารโภชนาการ (Online), 51(2), 1–10. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAT/article/view/117050