การอภิมานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • ดร.ลิลลี่ ศิริพร กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000
  • เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000

คำสำคัญ:

metasummary of data, Internal Quality Assurance, Praboromarajchonok Institute

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นประเด็นที่วิทยาลัยในสังกัดพระบรมราชชนก
ให้ความสำคัญ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ (1) เพื่อสรุปภาพรวมของการประกันคุณภาพ การศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (2) เพื่อค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จใน การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา และ (3) เพื่อเตรียมข้อมูลที่นำไปสู่การเสนอแนะแนวนโยบาย และ กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดพระบรมราชชนก

การวิจัยนี้เป็นการสรุปอภิมานจากข้อมูลที่ได้จากรายงานการประเมินคุณภาพภายในและข้อมูล จากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมรายงานการประเมินคุณภาพ ภายในที่สถาบันพระบรมราชชนก ทำการประเมินวิทยาลัยในสังกัดจำนวนทั้งสิ้น 37 แห่งในช่วงเดือน มิถุนายนถึงกันยายน 2554 นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลจากการเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิทยาลัย ใน 4 เครือข่ายจำนวน 4 ครั้ง เครื่องมือหลักในการทำวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพ การศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้ ตัวชี้วัดของสำนักคณะกรรมการอุดมศึกษาจำนวน 22 ตัวบ่งชี้  ตัวชี้วัดของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 18 ตัวบ่งชี้้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากรายงานผล การประเมินคุณภาพภายในและเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลการวิจัย  ภาพรวมคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ในมุมมอง ด้านต่าง ๆ พบว่า ผลการประเมินใน  9 องค์ประกอบ  อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.94 ผลการประเมินตามมาตรฐาน การอุดมศึกษา  พบว่ามาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต อยู่ในระดับ ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.55  มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการอุดมศึกษา  ก  มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของบริหารการอุดมศึกษา  และ ข  มาตรฐานด้านพันธกิจ การบริหารการอุดมศึกษา  อยู่ในระดับ ดี  ค่าเฉลี่ย 4.47  และ 4.01 มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐาน ความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้  อยู่ในระดับต้องปรับปรุง  ค่าเฉลี่ย 2.21

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด พบว่ามีปัจจัย แห่งความสำเร็จ 7 ปัจจัย คือ คือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร   แผนงาน  ภาวะผู้นำของผู้บริหาร    การทำงานเป็นทีม  ระบบและกลไก    บุคคลากร  และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม  ปัจจัยที่ต้องพัฒนาพบว่ามี 4 ปัจจัย คือ ทัศนคติ   ความรู้ความเข้าใจ   กระบวนการดำเนินงาน  การมีส่วนของทีมงาน

การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะบางประการที่ช่วยพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา  เนื่องจาก การตีพิมพ์ เผยแพร่งานวิจัยในแต่ละวิทยาลัยยังมีจำนวนน้อยและมีผลกระทบต่อการประกันคุณภาพ การศึกษาดังนั้นแต่ละ วิทยาลัยจึงควรพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ในการทำวิจัยที่สามารถนำผล การวิจัยไปเผยแพร่และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม การเบิกจ่ายเงินทำวิจัยที่มีความคล่องตัวก็จะช่วย ส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ได้ นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผนในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นแผนปฏิบัติการ แผนการเงิน แผนการพัฒนาบุคลากร หรือแผนสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้  สำหรับวิทยาลัยที่ได้รับการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี อยู่แล้ว ควรมุ่งพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาไปสู่สากล  ประการสุดท้ายวิทยาลัยควรทบทวนระบบและกลไก ของการประกันคุณภาพการศึกษาเ พราะในบางครั้งการที่ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับดีอาจจะ ไม่สะท้อนถึงผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง

คำสำคัญ : การสรุปอภิมาน   การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  สถาบันพระบรมราชชนก

 

Abstract


Improvement of education quality assurance is concerned among collages under Praborromarajchanok Institute (PBRI). This study was undertaken to address 3 main purposes; 1) to explore comprehensive understanding about education quality assurance among the colleges under PBRI, 2) to identify key success factors of education quality assurance, and 3) to provide the evidence
contributing to advanced policy and improvement strategies regarding education quality assurance among the colleges under PBRI.
This research involves a metasummary of data collected from assessment reports of internationally education quality assurance, and from transcriptions of focus groups. There was a collection of assessment reports regarding education quality assurance, internally audited by PBRI among 37 colleges, from
June-September 2011. In addition, 4 focus groups were set separately in 4 networks of colleges, providing opportunity for staffs to share experiences about implementing education quality assurance. Main research instrument was assessment form developed, using 22 indicators suggest by the Office of Higher Education Commission, 18 indicators by the Office of National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA).  Data were analyzed using descriptive statistic and content analysis.
The findings revealed that the overall of education quality based on 9 components of education quality assurance was reported at a good level (X = 3.94). According to the higher education standard, there was a report of excellent standard of graduated students (X=4.55), and good standards of institution’s good governance and mission (X = 4.47 and 4.01, respectively). However, the standard of developed learning society was reported at poor level (X = 2.21).
Analyzed from data collected from 4 focus groups, participants suggested 7 key success factors. Firstly, as the director of PBRI and nursing college, planning, leadership of the executive, teamwork, system and mechanism, personal, and finally,facter  of participation. . If he/she worked with a quality culture, educational quality was assured. In addition, fore barriers were highlighted, including insufficient knowledge about education quality assurance among new staff  unprepared persons to be a manager of education quality assurance.
There are some suggestions based on the findings. Undertaking powerful research should be promoted because a small number of published papers can affect education quality assurance. Each college should improve staff’s ability to undertake the research that contributes to published articles and social impacts. Easy disbursement of research budget should be developed. In addition, there should be a
utilization of strategic plan at all levels, such as action plan, budget plan, human development plan, and information technology plan. This will help the colleges keep their operation on track as planned. For the colleges that achieved a good standard of education quality, there should improve their education quality to reach an international standard. Finally, the system and mechanism assuring education quality should be reviewed because a high level of quality standard may not reflect outcomes as expected.

Keywards :  metasummary of data, Internal  Quality Assurance,  Praboromarajchonok Institute

Author Biographies

ดร.ลิลลี่ ศิริพร, กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000

รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000

นักวิชาการอิสระ  อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย