การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักด้านอาชีวอนามัยต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
คำสำคัญ:
Problem-Based Learning approach, problem solving skill of occupational health, nursing studentบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้คือการวิจัยและการพัฒนา Research and Development ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักด้านอาชีวอนามัยของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท จำนวน 103 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). วิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวอนามัยที่ผ่านมา ความต้องการ และความเป็นไปได้ในการทำวิจัย 2.) พัฒนาและดำเนินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักด้านอาชีวอนามัย 3).ประเมินประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการแก้ไขปัญหา การทำงานเป็นทีมและความพึงพอใจก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แผนการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก แบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบวัดการทำงานเป็นทีม และแบบวัดความพึงพอใจ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ร้อยละ ความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักโดยใช้สถิติ paired t-test
ผลการวิจัยในระยะวิเคราะห์สถานการณ์และการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนด้านอาชีวอนามัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการบรรยายอย่างเดียวและการศึกษาดูงานโรงงานเป็นส่วนน้อย จากความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเห็นด้วยที่จะมีการปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหา ในระยะประเมินผลพบว่า หลังจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักด้านอาชีวอนามัยนักศึกษาพยาบาลมีคะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นผู้สอนควรนำรูปแบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักไปใช้สอนหัวข้ออาชีวอนามัยเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจ เนื่องจากรูปแบบการเรียนดังกล่าว พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้เพราะเป็นการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้โดยการค้นคว้าข้อมูลตนเองอย่างแท้จริง
AbstractThis research was a research and development for teaching model on occupational health based on Problem Based Learning (PBL) approach among 103 of the second years nursing student who study in family and community health nursing 1, Boromrajonani College of Nursing, Phra putthabat. Objectives of study aim to 1). To analyze the occupation al health of teaching model situation, need assessment and feasibility of PBL 2). To develop and implement the occupational health of problem based learning (PBL) model 3). To evaluate the effectiveness of PBL model such as achieving outcome, problem solving skill, team work and satisfaction before and after implementation. Research instrument consist of interviews guideline, focus group guideline, PBL teaching model, learning outcome test, problem solving skill test, team work test, and satisfaction test. Data analysis of qualitative data was content analysis and quantitative data included number, percentage, mean, standard deviation and comparison of mean score before and after implementation with p-paired t-test.
Results of study in situation analysis found that previous teaching model was lecture model and few flied trip study. In addition, they agree with improvement teaching model with focus on study center in order to improve the critical thinking skill and problem solving skill in nursing student. In implementation phase found that after implementation of PBL model, nursing student have higher the score of leaning outcome, problem solving skill, team work, and satisfaction more before implementation with statistical significance at .05. Therefore, PBL model can apply in occupational health teaching model among nursing student in order to improve leaning outcome, problem solving skill, team work, and satisfaction due to increase the skill of analytical thinking and problem solving skill.