การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทักษะทางคลินิกด้วย Objective Structured Clinical Examination (OSCE) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
คำสำคัญ:
measurement, evaluation and learning clinical skills with (OSCE)บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทักษะทางคลินิกด้วย Objective Structure Clinical Examination (OSCE) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ โดยศึกษาหลักการ แนวคิด เอกสาร ตำรา งานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ยกร่างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทักษะทางคลินิกด้วย Objective Structure Clinical Examination (OSCE) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกใน 5 รายวิชา และจัดประชุมให้ความรู้อาจารย์จากวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 99 คน เพื่อร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์ เครื่องมือฯนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงร่างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฯ ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฯ โดยนำร่างเครื่องมือฯ ที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาจัดทำแบบประเมินฯ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบความสอดคล้องครอบคลุมของเนื้อหา แล้วเลือกข้อรายการที่มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือวัดฯ โดยจัดประชุมสนทนากลุ่ม ( Focus group) 5 กลุ่มๆ ละ12-13 คน รวม 63 คน รวมถึงทำการสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์พยาบาลจากวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก พิจารณาความเหมาะสมของเครื่องมือฯโดยเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นกับเกณฑ์การมีความเหมาะสมในระดับปานกลางขึ้นไป หรือคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป ถือว่าเครื่องมือนั้นมีความเหมาะสมในการเป็นแบบประเมินผลการเรียนรู้ฯ
ผลการศึกษาพบว่า 1) เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมี 5 รายวิชา ประกอบด้วย ชุดวิชาการพยาบาลมารดาทารก และผดุงครรภ์ จำนวน 3 สถานี ชุดวิชาการพยาบาลเด็ก จำนวน 7 สถานี ชุดวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จำนวน 4 สถานี ชุดวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น จำนวน 3 สถานี และวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต 2 สถานี 2) การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ พบว่า เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฯ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.6-1.0 ระดับความเหมาะสมของเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฯ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านเนื้อหา ( =4.33,SD 0.05) ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ( =4.32,SD=0.10) ด้านการใช้ภาษา( = 4.36, SD =0.02) และด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( =4.40,SD=0.05) โดยเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ
คำสำคัญ : การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทักษะทางคลินิกด้วย Objective Structure Clinical
Examination (OSCE)
The development of assessment and measurement tool of clinical skills with Objective Structure Clinical Examination (OSCE) for students of College Nursing under the Praboromarajchanok Institute
Abstract
This research and development study aims to develop an tool assessment and measurement of clinical skills with Objective Structure Clinical Examination (OSCE) for nursing students. The research was divided into three phases : Phase 1 was analysis and synthesis by studying of documents principles concepts, textbooks and research related. The next step was drafting the OSCE tool subjects and providing a workshop training for 99 college teachers of the Praboromarajchanok Institute to participate in the data analyzing and establishing the OSCE tool. Phase 2 quality assessment of the osce tool by five professionals. Item objective congruence (IOC) of 0.5 or higher was used as criteria for sclecting the items consistent of 0.5 or higher. Phase 3 the suitability of the OSCE tool was examined by using five with research objectives. Focus groups (12-13 persons/group) for 63 people. In addition, the questionnaive for suitability test of the OSCE tool was given to mursing instructors of nursing colleges under the Praboromarajchanok Institute. The analysis results of these quantitative data were presented in teams of the mean score. The mean sore of 2.50 or over is considered that the OSCE tool is appropviate for measuring and assessing clinical skill in this research.
The results showed that 1) Five subjects included in this study were the nursing module of mother, infants and newborns of 3 stations, the nursing module of set academic children's hospital of 7 stations, the nursing module of adult and elderly of 4 stations, the nursing module of community health and basic nursing of 3 stations, and the nursing module of a person with mental problems of 2 stations. 2) Validity and suitability test showed that the OSCE tool had content validity with IOC from 0.6-1.0 and the mean score of suitability test was high in all aspects : content ( = 4.33, SD= 0.05),learning environment ( =4.32,SD= 0.10), language usage ( =4.36,SD=0.02), and expected outcome ( = 4.40,SD= 0.05).
Keywords : measurement, evaluation and learning clinical skills with (OSCE).